ตราสารอนุพันธ์ (DERIVATIVES) เป็นตราสารทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะพิเศษคือ เป็นตราสารที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าขึ้นอยู่กับ สินค้าอื่นที่ตราสารอนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่ โดยสินค้าที่ตราสารอนุพันธ์อ้างอิง จะเรียกว่า สินค้าอ้างอิง (Underlying Asset)ลักษณะเด่นของตราสารอนุพันธ์อีก อย่างหนึ่งคือ เป็นตราสารที่มีอายุจำกัด เมื่อหมดอายุมูลค่าของตราสารนั้นๆ ก็จะหมดลงด้วย
การซื้อขายอนุพันธ์ที่ได้ยินข่าวคราวอยู่เสมอ ก็คือ การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เช่น การซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในต่างประเทศ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว คุณลักษณะของอนุพันธ์ มีให้พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ถึงความหมายของอนุพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างเรื่องใบจองซื้อรถมาอธิบายถ้าคนต้องการ รถใหม่เป็นจำนวนมากและมีคนจำนวนหนึ่งที่ซื้อใบจองรถไม่ทันคนเหล่านี้จึงไปขอ ซื้อใบจองรถจากคนที่จองได้ โดยยอมจ่ายค่าใบจองแพงกว่าราคาที่ขายตอนแรก จากราคาไม่กี่พันบาท ใบจองรถบางรุ่นก็ขึ้นไปถึงหลักหมื่นก็มี ทั้งที่ตัวใบจองรถเปล่าๆ ถือว่าไม่มีค่าอะไรเลย แต่ค่าของมันอยู่ที่ “สิทธิ” เพื่อใช้ซื้อรถตามรุ่น ตามยี่ห้อ และราคาตามที่ระบุไว้ ภายในเวลาที่กําหนดไว้ในใบจอง ถ้าครบกําหนดแล้วผู้ถือใบจองไม่นําใบจองไปใช้สิทธิซื้อรถ ใบจองรถใบนั้นก็จะหมดค่าไปทันที ในกรณีนี้เรา เปรียบ “ใบจองรถ” ได้ว่าเป็น “อนุพันธ์” ประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิในการซื้อรถได้ ส่วน “รถยนต์” ก็เปรียบได้กับ “สิ่งที่มันอ้างอิง” ของอนุพันธ์ฉบับนั้นๆ นั่นเอง
จะเห็น ได้ว่าราคาของใบจองรถที่ยังไม่หมดอายุจะมากหรือจะน้อยเท่าใดขึ้นกับว่าใบจองนั้นเป็นใบจองสําหรับรถยนต์ยี่ห้ออ ะไร รุ่นอะไร คนนิยมกันมาก แค่ไหน ถ้าเป็นรุ่น ยอดนิยมราคาใบจองก็อาจจะสูงมาก แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่นิยมคนไม่ต้องการ คนที่ซื้อใบจองมาตอนแรกถ้าเปลี่ยนใจไม่อยากซื้อรถแล้ว ต้องการขาย ใบจองก็อาจขายไม่ออก หรือต้องขายในราคาต่ำมากๆ จึงจะมีคนยอมซื้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าของใบจองรถ ที่อุปมาเป็นอนุพันธ์ จะไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่คุณค่าของ อนุพันธ์จะอยู่ที่ “สินทรัพย์อ้างอิง”การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ก็เปรียบเสมือนการนำใบจองรถมาซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาด ราคาของใบจองจึงเพิ่มลดเปลี่ยนแปลง ตามอุปสงค์และ อุปทานในตลาด ผู้ที่ซื้อใบจองมาก็หวังว่าจะขายได้ในราคาสูงขึ้น ซึ่งการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถ "ขายก่อนซื้อ" หรือ "ซื้อก่อนขาย" ก็ได้ จึงทำให้เกิดโอกาสทำกำไรในสองขา เช่นจากตัวอย่างข้างต้น หากผู้ลงทุนคาดว่าราคาใบจองจะสูงขึ้น ก็สามารถเข้ามาซื้อ และรอขายทำกำไรใน อนาคต แต่หาก ผู้ลงทุนคาดว่าราคาใบจองจะต่ำลง ก็สามารถเข้ามา "ขาย" ก่อนได้เลย และรอ "ซื้อ" เพื่อทำกำไรในภายหลัง
นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่ใช้เงินลงทุนน้อย ผู้ลงทุนมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง จากตัวอย่างใบจองรถข้างต้นจะเห็นว่าคนที่ซื้อใบจองรถมา ตอนแรก แล้วนำใบจองรถไปขายต่อ ใช้เงินทุนน้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องใช้ซื้อรถจริงๆ เพื่อรอนำไปขายต่อทำกำไรอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการซื้อขายใบจองรถจะมี ลักษณะคล้ายกับการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ แต่ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากตราสารอนุพันธ์มีหลายประเภท วิธีการซื้อ ขายตลอดจนกำไรและขาดทุนของผู้ซื้อและผู้ขาย จึงขึ้นอยู่กับประเภทของอนุพันธ์นั้นๆ
ประเภทของสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์
โดยหลักๆ แล้วตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ฟิวเจอร์ส (FUTURES)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ที่มีการจัดตั้งอย่าง
เป็นทางการ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะต้องซื้อขายกัน
ตามที่ตกลงในสัญญา
2. ออปชั่น (OPTIONS)
สัญญาสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้
ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
3. ฟอร์เวิร์ด (FORWARD)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อ
ขายกันนอกตลาดที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
4. สวอป (SWAP)
ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงิน
สดในอนาคต
ทั้งนี้ ในปัจจุบันตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายใน บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สัญญาฟิวเจอร์ส (FUTURES) และสัญญาออปชั่น (OPTIONS) โดยประกอบด้วย
SET50 Index Futures เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549
SET50 Index Options เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550
ที่มา : TFEX
การซื้อขายอนุพันธ์ที่ได้ยินข่าวคราวอยู่เสมอ ก็คือ การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เช่น การซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในต่างประเทศ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว คุณลักษณะของอนุพันธ์ มีให้พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ถึงความหมายของอนุพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างเรื่องใบจองซื้อรถมาอธิบายถ้าคนต้องการ รถใหม่เป็นจำนวนมากและมีคนจำนวนหนึ่งที่ซื้อใบจองรถไม่ทันคนเหล่านี้จึงไปขอ ซื้อใบจองรถจากคนที่จองได้ โดยยอมจ่ายค่าใบจองแพงกว่าราคาที่ขายตอนแรก จากราคาไม่กี่พันบาท ใบจองรถบางรุ่นก็ขึ้นไปถึงหลักหมื่นก็มี ทั้งที่ตัวใบจองรถเปล่าๆ ถือว่าไม่มีค่าอะไรเลย แต่ค่าของมันอยู่ที่ “สิทธิ” เพื่อใช้ซื้อรถตามรุ่น ตามยี่ห้อ และราคาตามที่ระบุไว้ ภายในเวลาที่กําหนดไว้ในใบจอง ถ้าครบกําหนดแล้วผู้ถือใบจองไม่นําใบจองไปใช้สิทธิซื้อรถ ใบจองรถใบนั้นก็จะหมดค่าไปทันที ในกรณีนี้เรา เปรียบ “ใบจองรถ” ได้ว่าเป็น “อนุพันธ์” ประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิในการซื้อรถได้ ส่วน “รถยนต์” ก็เปรียบได้กับ “สิ่งที่มันอ้างอิง” ของอนุพันธ์ฉบับนั้นๆ นั่นเอง
จะเห็น ได้ว่าราคาของใบจองรถที่ยังไม่หมดอายุจะมากหรือจะน้อยเท่าใดขึ้นกับว่าใบจองนั้นเป็นใบจองสําหรับรถยนต์ยี่ห้ออ
นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่ใช้เงินลงทุนน้อย ผู้ลงทุนมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง จากตัวอย่างใบจองรถข้างต้นจะเห็นว่าคนที่ซื้อใบจองรถมา ตอนแรก แล้วนำใบจองรถไปขายต่อ ใช้เงินทุนน้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องใช้ซื้อรถจริงๆ เพื่อรอนำไปขายต่อทำกำไรอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการซื้อขายใบจองรถจะมี ลักษณะคล้ายกับการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ แต่ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากตราสารอนุพันธ์มีหลายประเภท วิธีการซื้อ ขายตลอดจนกำไรและขาดทุนของผู้ซื้อและผู้ขาย จึงขึ้นอยู่กับประเภทของอนุพันธ์นั้นๆ
ประเภทของสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์
โดยหลักๆ แล้วตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ฟิวเจอร์ส (FUTURES)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ที่มีการจัดตั้งอย่าง
เป็นทางการ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะต้องซื้อขายกัน
ตามที่ตกลงในสัญญา
2. ออปชั่น (OPTIONS)
สัญญาสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้
ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
3. ฟอร์เวิร์ด (FORWARD)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อ
ขายกันนอกตลาดที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
4. สวอป (SWAP)
ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงิน
สดในอนาคต
ทั้งนี้ ในปัจจุบันตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายใน บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สัญญาฟิวเจอร์ส (FUTURES) และสัญญาออปชั่น (OPTIONS) โดยประกอบด้วย
SET50 Index Futures เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549
SET50 Index Options เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550
ที่มา : TFEX
ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค :
The Gold War Phase II...by Jimmy Siri บน Facebook
http://www.facebook.com/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1
The Gold War Phase II...by Jimmy Siri บน Facebook
http://www.facebook.com/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น