วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เงินเฟ้ออาการสาหัส นักลงทุนตั้งการ์ดรับ

นี่แหละครับสิ่งที่ผมพยายามเตือนมาได้ซักระยะแล้ว ก็คือ "Inflationary Depression" หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำบวกด้วยสภาวะเงินเฟ้อไปในตัวอีกแรงที่ก่อตัวขึ้นแล้วทั่วโลก แต่...

หลังจากที่ยูโรและดอลล่าล้มแล้วก็จะนำไปสู่ "Hyper-Inflationary Depression" หรือหรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขั้นรุนแรงบวกด้วยสภาวะเงินเฟ้อ "ยิ่งยวด" นั่นคือในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า น่าจะเห็นภาพชัดเจนทั้งหมดครับ แต่บางสำนักวิเคราะห์ให้ไว้ถึง 2015 ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าไปไม่ถึง

แต่ภายในปีนี้ ราคาน้ำมันคงวิ่งเข้าสู่ $152-$200 ตามข้อมูลของนาย Lindsey Williams เพื่อเป็นตัวหนุนกับประโยคข้างต้น เพราะเท่าที่เห็นตอนนี้พวกขาใหญ่หรือิลลูมินาติแบงค์เกอร์ กำลังเร่งเข้า L ฟิวเจอร์น้ำมัน พวกเค้าคงกำลังเริ่มดันราคาน้ำมันขึ้นแล้วล่ะครับเพื่อผลักดันให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น

ลองนึกภาพเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่จุดนี้และเร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการประกาศ QE3 ที่น่าจะออกมาช่วงเดือนพฤษภาถึงมิถุนายนที่จะทำให้ดอลล่าอ่อนยวบลงไปอีกแต่ครั้งนี้คงไม่ใช่แค่ดอลล่าอ่อนแต่ "Fear" หรือความกลัวน่าจะเกิดขึ้นในตลาดโดยเฉพาะในมุนของชาติเจ้าหนี้ต่างๆ ที่ยังคงถือครืองทรัพย์สินในสกุลดอลล่าอยู่มหาศาล รวมทั้งการปั่นราคาน้ำมันขึ้นพร้อมๆ กัน ที่จะส่งผลกระทบกับราคาอาหาร สินค้า ค่าขนส่ง และสินค้าทุนต่างๆ ขึ้นพร้อมๆ กัน

ถ้ารัฐบาลประเทศไหนไม่แข็งหรือแก้เกมส์ได้ไม่ดี ก็จะเกิดเหตุการณ์ประท้วงเพราะความหิวโหยและความเดือดร้อนของประชาชนในลักษณะเดียวกันกับตูนิเซีย เลบานอน จอร์แดน อิยิปต์ และอีกหลายๆประเทศที่เกิดขึ้นแล้ว

เพราะฉะนั้นเตรียมรับมือได้เลยครับ


เงินเฟ้ออาการสาหัส นักลงทุนตั้งการ์ดรับ
โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ โพสต์ทูเดย์
 
ปัญหาเงินเฟ้อกำลังลุกลามไปทั่วโลก ประเดิมด้วยกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย เหยื่อรายล่าสุดในภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ ซึ่งเปิดเผยตัวเลขช่วงเดือน ธ.ค. 2553 กระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 4.6% จาก 3.8% ช่วงเดือน พ.ย. นับเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี

ปัญหาเงินเฟ้อกำลังลุกลามไปทั่วโลก ประเดิมด้วยกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย เหยื่อรายล่าสุดในภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ ซึ่งเปิดเผยตัวเลขช่วงเดือน ธ.ค. 2553 กระโดดขึ้นมาอยู่ที่ 4.6% จาก 3.8% ช่วงเดือน พ.ย. นับเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง เมื่อปัญหานี้ได้ระบาดไปถึงยุโรปแล้ว หลังจากที่มีการเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อของกลุ่ม Eurozone ช่วงเดือน ธ.ค. ปี 2553 ซึ่งปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.2% สูงกว่าเป้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำหนดไว้ที่ 2%ขณะสถานการณ์เงินเฟ้อในอังกฤษส่อเค้าน่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะขึ้นมาอยู่ที่ 3.7% และคาดว่าจะทะลวงขึ้นมาเหนือระดับ 4% ในอีกไม่นานซึ่งสูงกกว่าเป้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กำหนดไว้ถึง 2 เท่า

ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ ประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะกลับต้องพบกับปัญหาเงินเฟ้อซ้ำเติม ดังเช่นกรณีของไอร์แลนด์ ที่ต้องรับทั้งความช่วยเหลือจาก EU และ IMF แต่ความช่วยเหลือนับหมื่นล้านยูโร ไม่อาจสกัดกั้นเงินเฟ้อที่ทะลุ 1.3% ได้ จากตัวเลขเดือน พ.ย. ที่ 0.6% นับเป็นการปรับเพิ่มถึงเท่าตัว

แนวโน้มที่เริ่มน่าเป็นห่วงในยุโรป ยังผลให้ ECB ต้องออกโรงเสริมความมั่นใจให้กับทุกฝ่าย โดยฌอง โคลด ตริเชต์ กล่าวผ่านหนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล ว่า “ในสถานการณ์ที่มีภาวะเงินเฟ้อเป็นภัยคุกคามต่อสินค้าโภคภัณฑ์ ธนาคารกลางทุกแห่งจะต้องใช้ความรอบคอบ และระมัดระวังว่าจะไม่มีผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อรอบที่ 2”

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวของตริเชต์บ่งชี้ว่า ECB กังวลกับปัญหานี้ แต่ยังเชื่อว่าเป็นเพียงปฏิกิริยาระยะสั้น หรือเป็นเพียงเงินชั่วครั้งคราว ไม่มีรอบที่ 2 (ซึ่งหมายความว่า เป็นปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาวอย่างแน่นอน) ไม่เพียงเท่านั้นคำพูดนี้แฝงนัยบางประการ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในส่วนถึงมูลเหตุที่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ไม่เพียงเกิดภาวะแพร่ระบาดของภาวะเงินเฟ้อเท่านั้น แต่ปริมณฑลของผลกระทบยังสั่นสะเทือนไปถึงกลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น

แต่แรกเริ่มนั้นผู้บริโภคเป็นกลุ่มแรกที่ต้องบอบช้ำจากราคาสินค้าและ บริการที่แพงขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย อันเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ยังผลให้รัฐบาลต้องเร่งรักษาเสถียรภาพด้านราคา เพื่อป้องกันเหตุวุ่นวายทางสังคม อันจะกระทบไปถึงสถานะทางการเมืองของรัฐบาลนั้นๆ

ในเวลาต่อมา กลุ่มนักลงทุนเริ่มเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ลงทุนกับพันธบัตรของรัฐบาล ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อเป็นปัจจัยลบโดยตรงต่อการลงทุนประเภทนี้

ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่และนายทุนส่วนน้อย จึงต่างรับผลกระทบจากปัญหาเดียวกันและด้วยความวิตกที่คล้ายคลึงกันนั่นคือ กำลังซื้อของตัวเองกำลังถดถอยลงอย่างรวดเร็ว

จากการสำรวจโดยบริษัท Northern Trust พบว่า นักลงทุนทั่วโลก 62 ราย เชื่อว่าปัญหาเงินเฟ้อจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้ และอีก 53 รายเชื่อว่า จะมีการขึ้นดอกเบี้ยภายในช่วงไตรมาสแรก

ปัญหาเงินเฟ้อส่วนหนึ่ง (ซึ่งอาจเป็นส่วนใหญ่เสียด้วยซ้ำ) มาจากการที่ประเทศตะวันตกพิมพ์และปั๊มเงินเข้าสู่ระบบอย่างล้นหลาม ทั้งสหรัฐและยุโรป โดยเฉพาะสหรัฐที่อ้างสิทธิในการพิมพ์ธนบัตรโดยไม่ต้องอิงกับทองคำสำรองได้ ตามใจชอบ ดังที่ล่าสุดได้ใช้มาตรการ QE2 และอาจมี QE3 ติดตามมาอีกในอนาคต

การพิมพ์ธนบัตรในกรณีของสหรัฐนั้น มีจุดประสงค์ก็เพื่อซื้อพันธบัตรของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จีนจะเข้ามาระดมซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอย่างต่อ เนื่อง เพราะยังมีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการมีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจสหรัฐในทางอ้อม แต่แล้วเงินเหรียญสหรัฐกลับยิ่งอ่อนค่าลงยังผลให้นักลงทุนเริ่มผละหนี

ส่วนสถานการณ์ของยุโรป การอัดเงินเข้าสู่ระบบยิ่งทำให้นักลงทุนแห่หนีไปยังตลาดเกิดใหม่ที่มีความ คึกคักและปลอดภัยกว่า เนื่องจากพันธบัตรของยุโรปแทบไม่เหลือความน่าเชื่อถืออีกต่อไปในหลายๆ ประเทศ เว้นเพียงเยอรมนี และอาจกล่าวได้ว่า อนาคตของ Eurozone อยู่ในกำมือของเยอรมนี ซึ่งมีสถานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นทุกวัน ดังจะเห็นได้จากระดับความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ปรับขึ้นมาเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และสูงสุดนับตั้งแต่เยอรมนีรวมชาติเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว

อนึ่ง การที่ ECB ไม่แสดงอาการร้อนอกร้อนใจต่อทิศทางเงินเฟ้อ ก็เพราะยังจำเป็นจะต้องพิมพ์ธนบัตรต่อไปเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่บั่นทอน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากกว่า ทว่า การทำเช่นนี้เท่ากับดึงประเทศที่ไม่มีปัญหาให้ต้องแบกรับปัญหาไปด้วย ดังเช่นเยอรมนีที่คัดค้านการกระทำเช่นนี้มาโดยตลอด

นอกจากนี้ เยอรมนีเพียงประเทศเดียวไม่ช่วยทำให้อะไรดีขึ้น เพราะนี่คือสิ่งเกิดขึ้นกับ “กลุ่ม”มิใช่ “ปัจเจก” นักลงทุนจึงผละหนีเช่นกัน และเข้าทำนองหนีเสือปะจระเข้โดยแท้ เพราะช่วงที่สหรัฐเผชิญกับวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจถดถอยนั้น นักลงทุนฝากความหวังไว้ที่ยุโรปค่อนข้างมาก ว่าจะเป็นทางเลือกที่ “น่าจะ” ปลอดภัยกว่า

ด้วยปัจจัยรุมเร้ารอบด้านยังผลให้เม็ดเงินเหล่านั้นเริ่มไหลทะลักไปยัง ภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะเอเชีย ทำให้เงินเฟ้อในภูมิภาคทะลุเป้าในทันตา สิ่งที่ตามมาคือ รัฐบาลของนานาประเทศพยายามปิดกั้นกระแสไหลบ่าของทุนนอก นับว่าเป็นอีกคราที่นักลงทุนเริ่มตระหนักว่า ปริมาณเงินที่ล้นทะลักในระบบเศรษฐกิจโลกนั้น เป็นภัยคุกคามต่อตัวเองมากเพียงใด

ด้วยเหตุนี้นักลงทุนจึงหันไปลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างโกลาหล ไม่ว่าจะเป็นทองคำ น้ำมัน ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ดังจะเห็นได้ว่า หลังจากที่ตลาดเกิดใหม่เริ่มตั้งปราการสกัดทุนนอก ปรากฏว่าราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นมาในทันที และเมื่อใดก็ตามที่น้ำมัน สินค้าทุกประเภทจะแพงตามไปด้วย เนื่องจากเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญที่สุด

ในระยะแรกนั้นราคาทองคำและน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่นับว่าหวือหวารุนแรง จนกระทั่งมีปัจจัยลบเข้ามารุมเร้าทำให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คาด เพราะประจวบเหมาะกับที่ยุโรปมีสภาพการณ์ที่ย่ำแย่ลง มิหนำซ้ำสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวยังได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ตั้งแต่สินค้าเกษตรไปจนถึงพลังงาน อย่างเช่นถ่านหิน กลายเป็นแรงกระหน่ำให้การลงทุนในตลาดโภคภัณฑ์ร้อนแรง

นายทุนหรือนักลงทุน เป็นกลุ่มคนที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้สะดวกกว่าผู้บริโภคทั่วๆ ไป การที่นักลงทุนโยกย้ายหนีปัจจัยลบจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง จากตลาดหนึ่งสู่อีกตลาดหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี

ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้อกำลังคุกคามรอบด้าน นักลงทุนกลุ่มหนึ่งอาจเริ่มได้รับผลกระทบ แต่มีอีกจำนวนไม่น้อยที่เชื่อมั่นว่า ตลาดโภคภัณฑ์คือตลาดที่มั่นคงที่สุด ยิ่งเงินเฟ้อรุนแรงเพียงใด ยิ่งสามารถกอบโกยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังมีเหตุผลที่จะต้องกังวลกับปัญหานี้ อย่างน้อยในฐานะผู้บริโภค และอย่างน้อยปัญหาเงินเฟ้อจะส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพทางการเงิน หากเกิดความวุ่นวายถึงขั้นจลาจลดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งขณะนี้ ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี ในฐานะประธานกลุ่ม G20 ถึงกับต้องกำหนดแนวทางเพื่อสกัดกั้นราคาสินค้าแพง และป้องกันจลาจลจากวิกฤตอาหารที่สุ่มเสี่ยงจะปะทุขึ้นอยู่รอมร่อ

ด้วยเหตุนี้ต่อให้การลงทุนมีความยืดหยุ่นหรือรู้หลบเป็นปีกเพียงใด ย่อมหลีกไม่พ้นความเสี่ยงที่กำลังก่อตัวขึ้นรอบด้าน

ถึงที่สุดแล้วปัญหาเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นหอกทิ่มแทงนักลงทุนเอาง่ายๆ


ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค :
The Gold War Phase II...by Jimmy Siri บน Facebook
http://www.facebook.com/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น