วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตราสารอนุพันธ์ (DERIVATIVES)

ตราสารอนุพันธ์ (DERIVATIVES) เป็นตราสารทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะพิเศษคือ เป็นตราสารที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าขึ้นอยู่กับ สินค้าอื่นที่ตราสารอนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่ โดยสินค้าที่ตราสารอนุพันธ์อ้างอิง จะเรียกว่า สินค้าอ้างอิง (Underlying Asset)ลักษณะเด่นของตราสารอนุพันธ์อีก อย่างหนึ่งคือ เป็นตราสารที่มีอายุจำกัด เมื่อหมดอายุมูลค่าของตราสารนั้นๆ ก็จะหมดลงด้วย

การซื้อขายอนุพันธ์ที่ได้ยินข่าวคราวอยู่เสมอ ก็คือ การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เช่น การซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในต่างประเทศ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว คุณลักษณะของอนุพันธ์ มีให้พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ถึงความหมายของอนุพันธ์ชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างเรื่องใบจองซื้อรถมาอธิบายถ้าคนต้องการ รถใหม่เป็นจำนวนมากและมีคนจำนวนหนึ่งที่ซื้อใบจองรถไม่ทันคนเหล่านี้จึงไปขอ ซื้อใบจองรถจากคนที่จองได้ โดยยอมจ่ายค่าใบจองแพงกว่าราคาที่ขายตอนแรก จากราคาไม่กี่พันบาท ใบจองรถบางรุ่นก็ขึ้นไปถึงหลักหมื่นก็มี ทั้งที่ตัวใบจองรถเปล่าๆ ถือว่าไม่มีค่าอะไรเลย แต่ค่าของมันอยู่ที่ “สิทธิ” เพื่อใช้ซื้อรถตามรุ่น ตามยี่ห้อ และราคาตามที่ระบุไว้ ภายในเวลาที่กําหนดไว้ในใบจอง ถ้าครบกําหนดแล้วผู้ถือใบจองไม่นําใบจองไปใช้สิทธิซื้อรถ ใบจองรถใบนั้นก็จะหมดค่าไปทันที ในกรณีนี้เรา เปรียบ “ใบจองรถ” ได้ว่าเป็น “อนุพันธ์” ประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิในการซื้อรถได้ ส่วน “รถยนต์” ก็เปรียบได้กับ “สิ่งที่มันอ้างอิง” ของอนุพันธ์ฉบับนั้นๆ นั่นเอง

 จะเห็น ได้ว่าราคาของใบจองรถที่ยังไม่หมดอายุจะมากหรือจะน้อยเท่าใดขึ้นกับว่าใบจองนั้นเป็นใบจองสําหรับรถยนต์ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร คนนิยมกันมาก แค่ไหน ถ้าเป็นรุ่น ยอดนิยมราคาใบจองก็อาจจะสูงมาก แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่นิยมคนไม่ต้องการ คนที่ซื้อใบจองมาตอนแรกถ้าเปลี่ยนใจไม่อยากซื้อรถแล้ว ต้องการขาย ใบจองก็อาจขายไม่ออก หรือต้องขายในราคาต่ำมากๆ จึงจะมีคนยอมซื้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าของใบจองรถ ที่อุปมาเป็นอนุพันธ์ จะไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่คุณค่าของ อนุพันธ์จะอยู่ที่ “สินทรัพย์อ้างอิง”การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ก็เปรียบเสมือนการนำใบจองรถมาซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาด ราคาของใบจองจึงเพิ่มลดเปลี่ยนแปลง ตามอุปสงค์และ อุปทานในตลาด ผู้ที่ซื้อใบจองมาก็หวังว่าจะขายได้ในราคาสูงขึ้น ซึ่งการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถ "ขายก่อนซื้อ" หรือ "ซื้อก่อนขาย" ก็ได้ จึงทำให้เกิดโอกาสทำกำไรในสองขา เช่นจากตัวอย่างข้างต้น หากผู้ลงทุนคาดว่าราคาใบจองจะสูงขึ้น ก็สามารถเข้ามาซื้อ และรอขายทำกำไรใน อนาคต แต่หาก ผู้ลงทุนคาดว่าราคาใบจองจะต่ำลง ก็สามารถเข้ามา "ขาย" ก่อนได้เลย และรอ "ซื้อ" เพื่อทำกำไรในภายหลัง

 นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่ใช้เงินลงทุนน้อย ผู้ลงทุนมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง จากตัวอย่างใบจองรถข้างต้นจะเห็นว่าคนที่ซื้อใบจองรถมา ตอนแรก แล้วนำใบจองรถไปขายต่อ ใช้เงินทุนน้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินที่ต้องใช้ซื้อรถจริงๆ เพื่อรอนำไปขายต่อทำกำไรอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการซื้อขายใบจองรถจะมี ลักษณะคล้ายกับการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ แต่ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากตราสารอนุพันธ์มีหลายประเภท วิธีการซื้อ ขายตลอดจนกำไรและขาดทุนของผู้ซื้อและผู้ขาย จึงขึ้นอยู่กับประเภทของอนุพันธ์นั้นๆ

ประเภทของสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์
โดยหลักๆ แล้วตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ฟิวเจอร์ส (FUTURES)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ที่มีการจัดตั้งอย่าง
เป็นทางการ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะต้องซื้อขายกัน
ตามที่ตกลงในสัญญา
2. ออปชั่น (OPTIONS)
สัญญาสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้
ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
3. ฟอร์เวิร์ด (FORWARD)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อ
ขายกันนอกตลาดที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
4. สวอป (SWAP)
ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงิน
สดในอนาคต

ทั้งนี้ ในปัจจุบันตราสารอนุพันธ์ที่ซื้อขายใน บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สัญญาฟิวเจอร์ส (FUTURES) และสัญญาออปชั่น (OPTIONS) โดยประกอบด้วย
SET50 Index Futures เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549
SET50 Index Options เริ่มซื้อขายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550

ที่มา : TFEX

ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค :
The Gold War Phase II...by Jimmy Siri บน Facebook
http://www.facebook.com/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น