วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

The Theory of "Timing".......2

วันนี้ได้เจอบทความ เวบไซท์ และ  วีดีโอทฤษฏีการลงทุนนึงโดยบังเิอิญครับ ซึ่งจะเป็นตัวขยายความเรื่องที่เราคุยกันในโพสต์ของโกลด์ ฟิวเจอร์ของวันนี้ได้ดีทีเดียว อ่านและดูแล้วคงจะได้ไอเดีย และหลักคิดที่น่าสนใจ เพียงแต่เค้าจะหยุดอยู่ที่จอร์จโซรอส และกองทุน แต่หลักคิดเอาไปใช้ได้เลยทั้งตลาดหุ้นและทองคำครับ

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง.......  
 

จะขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แห่งความจริง เมื่อปี 2551 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกขึ้น เริ่มต้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตลาดหุ้นไทยตกลงจนต่ำสุดที่ประมาณ 400 จุด ในปลายปี 2551 และเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบไม่เกิน 500 จุด จนถึงเดือน มีนาคม 2552 ช่วงนั้นมีแต่ข่าวเหตุผลสถานการณ์ด้านไม่ดี ที่บ่งบอกและชี้ว่า หุ้นจะยังไม่ฟื้นตัวง่าย ๆ วิกฤติเพิ่งเริ่มต้นและหุ้นน่าจะลงต่อได้อีก สถานการณ์ก็ร้ายแรงมาก มองหาเหตุผลอย่างไร ก็ไม่เจอว่าทำไมจึงควรซื้อหุ้น เนื่องจาก 1) ความหนักหนาสาหัสของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ มีความรุนแรงที่สุด ในประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมโลก 2) วิกฤติครั้งนี้เกิดทั่วโลกทั้งอเมริกา ยุโรป เอเซีย วิกฤติคราวที่แล้วเมื่อปี 2540 ประเทศฝั่งเอเซีย ยังได้ประโยชน์จากค่าเงินที่อ่อน ได้เม็ดเงินจากยุโรป อเมริกา มาชวยฟื้นเศรษฐกิจ จากการส่งออก การท่องเที่ยวที่ดีขึ้น 3) วิกฤติเพิ่งเริ่มได้ไม่กี่เดือนเท่านั้น ทำไมต้องรีบซื้อหุ้น คราววิกฤติปี 40 ใช้เวลาเกือบ 5 ปี จึงเริ่มฟื้นตัวจริงจัง 4) ราคาอาจลงไปได้อีก เมื่อคราวปี 40 นอกจากยืดเยื้อแล้วราคาหุ้นยังตกถึง 200 กว่าจุด และคราวนี้ สถานการณ์ก็หนักไม่แพ้กัน แม้จะแตกต่างในรูปแบบ หุ้นจึงอาจลงถึง 300 หรือ 200 จุด ได้เช่นกัน


เมื่อเราวิเคราะห์เหตุการณ์ สถานการณ์ ข่าวสาร ข้อมูล แล้วเปรียบเทียบอดีตกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้น เรียกรวม ๆ ว่า “ระบบเหตุผล” ทั่ว ๆ ไปที่เชื่อและตีความไปตามสิ่งที่ตาเห็น แล้วเราจึงไม่กล้าซื้อหุ้นที่ประมาณ 400 จุด แต่กลับขายออก เนื่องจากหาเหตุผลด้านดีไม่เจอ แต่ดังที่ได้อธิบายมาแล้วว่า เมื่อใดเหตุผลชัดเจนไปทางใดทางหนึ่ง มองไปทางไหนคุยกับใครก็มีแต่คนขายหุ้น และไม่ซื้อออกจากตลาดไป แสดงว่ามีอีกด้านหนึ่งที่เราไม่เห็นไม่ระลึกถึง กำลังซื้อทั้งหมดอยู่เช่นกัน ราคาจึงจะเกิดได้ เพราะซื้อต้องเท่ากับขายเสมอ ใคร ๆ ก็ขายกันหมดอยู่เป็นไปได้อย่างไร ต้องมีคนซื้อด้วย เมื่อ MASS ขายระดับผู้ชนะซื้อ ราคาก็เริ่มปรับตัวขึ้นทันทีสูงขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็จะมีเหตุผลด้านดี ๆ ออกมาอธิบายได้เองตามหลังราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปแล้ว โดยที่เหตุผลดี ๆ เหล่านั้นจะไม่สามารถหาได้เลยบริเวณจุดต่ำสุด บริเวณนั้นจะมีแต่เหตุผลว่าจะลงต่อ เมื่อราคาหุ้นได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไปกำหนดเหตุการณ์สถานการณ์ให้ดี ขึ้นเรื่อยๆ จำนวนคนก็เข้าไปซื้อมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงช่วงเวลาหนึ่งที่ราคาได้ขึ้นไปสูงถึงระดับหนึ่งที่มีเหตุผลด้านดี ๆ เหตุการณ์ดี ๆ ที่บ่งบอกว่าราคาจะขึ้นต่อไปอีก มองหาเหตุผลอย่างไรก็ไม่เจอว่าราคาจะปรับตัวลงได้อย่างไร MASS คิด ด้วยระบบเหตุผลก็จะเข้าไปซื้อกันมากที่สุด ระดับผู้ชนะย่อมขายในอีกด้านหนึ่ง ราคาก็จะเริ่มปรับตัวเป็นขาลง ซึ่งจุดที่มีแต่เหตุผลด้านดี ๆ นั้นยังไม่ใช่บริเวณราคาปัจจุบัน ที่ประมาณ 600 จุด เท่านั้น ( เขียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ) ราคาหุ้นจึงจะยังคงสูงขึ้นได้อีกทั่วโลก โดยตลาดหุ้นไทยจะขึ้นถึง 1000 จุดได้ อย่างช้า 5 ปี และถึงระดับ 2000 จุดใน 10 ปี ( แน่นอนว่าระหว่างทางย่อมสลับขึ้นลง ) รายละเอียดอ่านได้ท้ายหนังสือเศรษฐศาสตร์แห่งความจริง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 และครั้งต่อ ๆ ไป 

ถึงแม้ว่า ช่วงเวลาประมาณ 400 จุดเมื่อเดือน ตุลาคม 2551 – กุมภาพันธ์ 2552 สถานการณ์จะหนักจริง เม็ดเงินหายจากระบบจริงมากมายมหาศาล ธุรกิจตกต่ำจริง รายได้หดหาย เงินมีสะพัดจริง แต่พอเราโยงเหตุผลตรง ๆ กับตลาดหุ้น แล้วเราตัดสินใจขาย จะผิดทันที เราไม่ต้องตระหนักถึง “ระบบผลประโยชน์” ที่ทับซ้อน “ระบบเหตุผล” อีกชั้นหนึ่ง เมื่อตัดสินใจซื้อขายในตลาดเก็งกำไร

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมได้อ่าน "เศรษฐศาสตร์แห่งความจริง" ของคุณพิชัย แล้ว (พิมพ์ครั้งที่ 3) มีบางบทในหนังสือที่คุณพิชัยทำนายอนาคตผิด เรื่องว่า คนอเมริกันรู้ล่วงหน้าแล้วว่า ตลาดหุ้นจะร่วงมากและจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อเรียนรู้จากประเทศในเอเชียแล้วจึงหาทางป้องกัน โดยทำนายว่าจะไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในสหรัฐอเมริกา (แต่คุณพิชัยคาดผิด เพราะได้มองคนอเมริกันในแง่ดีเกินไป โดยไม่คาดคิดว่า คนอเมริกัน สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในอเมริกา ก็จัดอยู่ในประเภท mass ด้วย และจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม การกระทำและการแก้ปัญหาของสถาบันการเงิน ของรัฐบาลสหรัฐ และประชาชนทั่วไปซึ่งสุดท้ายนำไปสู่วิกฤต ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ทำไว้ก่อนหน้านั้น โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง) แต่เนื้อหาส่วนอื่น ๆ นอกนั้นให้แง่คิดที่ดีมาก และผมเห็นด้วยที่ว่า mass คือผู้ที่ขาดทุนตลอด เป็นหนังสือที่มีประโยชน์มากครับ ในปัจจุบันผมเองได้เริ่มประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ในการลงทุนจริงของผมแล้ว ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้ที่

    http://thailandstockinvestment.blogspot.com

    และศึกษาการหาจังหวะลงทุนจากวีดีโอสอนฟรี ที่
    http://sites.google.com/site/freetechnicalanalysistutorial

    ตอบลบ