วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

Gold Update.......This way ( CFTC Update 1 )

ขอนำข่าวๆ นึงจากคุณ cool_kid ขึ้นมาโพสต์ไว้ครับ เพราะเป็นประเด็นนึงที่น่าสนใจในตลาดทองคำ และในโพสต์นี้และโพสต์อัพเดตต่อๆไปในเรื่องนี้คงจะเป็นคำตอบให้กับคำถามของคุณผิงไปด้วยครับ....... 

CFTC ออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไร
พ่อน้อง เอม (at) thaigold.info 
โดย ไทยรัฐออนไลน์
6 เมษายน 2553, 10:30 น.

 

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำในตลาดโลกมีความผันผวนแกว่งตัวขึ้นลงอย่างรุนแรง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นผลมาจากการเข้ามาเก็งกำไรของบรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ และสถาบันการเงินต่างๆ ราคาทองขึ้นลงวันละ 20-30 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเรื่องธรรมดา บางวันหนักหน่อยก็ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐ บางวันลงที 100 ดอลลาร์สหรัฐ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว การผันผวนของราคาทองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ตลาด COMEX ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สและออฟชั่นส์ของสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ โลหะมีค่าและโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรม รวมไปถึงสินค้าทางการเกษตร โดยปกติแล้วราคาสินค้าต่างๆในตลาด COMEX มักจะเป็นตัวชี้นำราคาที่ส่งมอบทันทีในตลาดอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาทองคำ เนื่องจากตลาด COMEX เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสัญญาโกลด์ฟิวเจอร์สและออฟชั่นส์ที่มีปริมาณสูง ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการซื้อขายสัญญาเป็นหลักแสนต่อวัน (1 สัญญาต่อ 100 ออนซ์ หรือประมาณ 200 บาททองคำ) ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยว่าหากคืนใดที่ราคาทองคำในตลาด COMEX มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรง จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของราคาทองคำในตลาดโลกได้เลยที เดียว

การผันผวนของ ราคาทองคำ แร่เงินและทองแดงในตลาด COMEX นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขาย ซึ่งก็คือ US Commodity Futures Trading Commission หรือเรียกย่อๆว่า “CFTC” ต้องพิจารณาออกมาตรการจำกัดโควต้าในการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สและออปชั่น (Position Limit***) ของทองคำ แร่เงินและทองแดง เพื่อลดความผันผวนของราคาและสกัดกั้นการเข้ามาเก็งกำไรจากกองทุนเฮดจ์ฟันด์ และสถาบันการเงินต่างๆ หลายท่านคงยังจำกันได้ เมื่อช่วงปี พศ.2550-2551 กองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายแห่งได้เข้ามาเก็งกำไรในการซื้อขายน้ำมันดิบ ทำให้ราคาพุ่งขึ้นจาก 50 ดอลลาร์สหรัฐ ไปถึงเกือบๆ 150 ดอลลาร์สหรัฐ (ต่อบาร์เรล) อย่างรวดเร็ว แถมปล่อยข่าวจะขึ้นไปถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐ ตอนนั้นทำเอาระบบเศรษฐกิจปั่นป่วนไปทั่วโลก หลังจากที่ปั่นราคาขึ้นมาเป็นที่พอใจ ก็ถึงคราวทุบราคา แล้วก็ทำการเก็งกำไรขาลง หรือถือ short position แทน ราคาน้ำมันก็ร่วงลงอย่างน่าตกใจ ราคาลงมาถึงระดับ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล การผันผวนของราคาน้ำมันดิบในครั้งนั้น ทำให้ CFTC ต้องดำเนินการออกมาตรการจำกัดโควต้าในการซื้อขายน้ำมันดิบในทันที การออกมาตรการดังกล่าวถือได้ว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ราคาน้ำมันดิบไม่แกว่งตัวอย่างรุนแรงเหมือนก่อน หลังจากนั้นกองทุนเฮดจ์ฟันด์และสถาบันการเงินต่างๆก็เริ่มหันมาเก็งกำไรใน ตลาดอื่นแทน ซึ่งก็หนีไม่พ้นตลาดทองคำ ทำให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นจาก 900 ดอลลาร์สหรัฐ ไปถึง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นทาง CFTC ก็เลยพิจารณานำมาตรการจำกัดโควต้าการซื้อขายมาใช้ในตลาดทองคำบ้าง

ก่อน ที่จะออกมาตราการใหม่ขึ้นมา ทาง CFTCได้เปิดบ้านต้อนรับบรรดาผู้คว่ำหวอดในวงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการกองทุน โบรกเกอร์และเทรดเดอร์ ทั้งในฝั่งอเมริกาและยุโรป มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการออกมาตรการดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คัดค้านโดยอ้างว่าการที่ราคาแกว่งตัวขึ้นลงรุนแรงนั้น เป็นไปตามกลไกของตลาด ไม่ได้เกิดจากการควบคุมราคา (Price Manipulation) จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และการจำกัดจำนวนสัญญาหรือ position ที่ถืออยู่ก็ถูกควบคุมด้วยจำนวนเงินที่วางมาร์จิ้นเอาไว้ นอกจากนี้มาตรการดังกล่าวจะทำให้เกิดความผันผวนของราคาในตลาดต่างประเทศ(นอกสหรัฐ) ซึ่งยากในการควบคุมดูแล ก็เป็นธรรมดาครับ พวกที่คัดค้านนี้คงได้กำไรจากการเก็งกำไรในตลาดนี้มหาศาล ก่อนหน้าที่ทาง CFTC จะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ GATA (Gold Anti-Trust Action Committee) ได้ส่งข้อมูลให้กับ CFTC ว่ามีการร่วมมือกันระหว่าง Bullion Banks และสถาบันการเงินบางแห่งเช่น JP Morgan Chase Bank และ Goldman Sachs ได้ถือสัญญา short เป็นจำนวนมาก ซึ่งสถาบันเหล่านี้ได้ทำการยืมทองคำจากแบงค์ชาติ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆ ต่ำจนเรียกว่าเกือบจะยืมฟรีๆก็ว่าได้ โดยทำการปล่อยขายในตลาด แล้วนำเงินไปลงทุนในตลาดอื่น แถมยังถือสัญญา short ในตลาดฟิวเจอร์สไปด้วย ทำกันอย่างนี้ ก็กำไร 3 เด้งกันไปเลย ซึ่งทางแบงค์ชาติของสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปก็พอใจ เพราะเป็นการกดดันราคาทองไปในตัว และส่งผลให้เงินกระดาษดูมีค่าต่อไป ไม่ว่าจะพิมพ์กันมามากมายขนาดไหนก็ตาม

หลังจากเปิด รับฟังความเห็นสาธารณะในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา CFTC ก็ยังคงเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะผ่านทางเว็ปไซต์จนถึงวันที่ 30 เมษายนนี้ หลังจากนั้นทาง CFTC จะทำการรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมากำหนดรายละเอียดของมาตราการจำกัดโควต้า ในเบื้องต้นคาดว่ารูปแบบคงจะคล้ายกับมาตรการจำกัดโควต้าที่ใช้กับตลาดน้ำมัน ดิบอยู่ ส่วนจะเริ่มบังคับใช้เมื่อไหร่นั้น เท่าที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน CFTC หลายคนต้องการให้มีผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุด นอกจากนี้การออกมาตรการดังกล่าวก็สอดคล้องกับความประสงค์ของประธานาธิบดี สหรัฐ นายบารัค โอบาม่า ที่ไม่ต้องการให้ธนาคารและสถาบันการเงินเข้าไปเก็งกำไรหรือเป็นเจ้าของกอง ทุนเฮดจ์ฟันด์ รวมถึงการทำธุรกรรมใดๆที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ของลูกค้า ผมเลยมั่นใจว่า CFTC จะนำมาตรการหรือกฎใหม่ออกมาบังคับใช้ เพื่อลดการเข้ามาเก็งกำไรอย่างแน่นอน แต่ผมยังเดาไม่ออกว่า CFTC จะใช้ยาแรงขนาดไหน ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะแรงมากนัก เพราะจะทนต่อแรงคัดค้านไม่ไหว มาตราการใหม่น่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมปีนี้ เอาแบบว่ากลับมาจากการพักผ่อนฤดูร้อนก็เริ่มกันเลย เรื่องกำหนดเวลานี้ ผมเดาขึ้นมาเองนะครับ ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจาก CFTC ต่อไป

หาก CFTC บังคับใช้มาตรการจำกัดโควต้าในการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์สในตลาด COMEX แล้วราคาทองในตลาดโลกน่าจะเป็นอย่างไร แน่นอนที่สุดราคาทองจะผันผวนน้อยลง โดยดูตัวอย่างจากราคาน้ำมันดิบ หลังจากมีมาตรการจำกัดโควต้า ราคาน้ำมันดิบไม่ได้แกว่งตัวรุนแรงเหมือนก่อน และที่สำคัญต้องมาพิจารณารายละเอียดของมาตรการที่จะออกมาว่ามีรูปแบบอย่างไร และใครจะได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นจากมาตรการดังกล่าวบ้าง และได้รับการยกเว้นมากน้อยขนาดไหน ยกตัวอย่างเช่น หากสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีลักษณะเป็น Bullion Banks ได้รับการยกเว้น ราคาทองก็น่าจะลง เพราะกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ต้องการปั่นราคาขึ้น คงหมดแรงไปซะก่อน แต่ถ้าหาก Bullion Banks เหล่านี้ไม่ได้รับการยกเว้น ราคาทองน่าจะเป็นขาขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะพวกนี้จะต้องถูกบังคับให้ลดการถือครอง short position ลง ซึ่งจะทำให้ราคาทองขึ้นไปโดยปริยาย

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมาก ๆ ครับ
    เริ่มเข้าถึง เบื้องหลังตัวเป็น ๆ มากขึ้นทุกวัน ๆ แล้วครับ
    ขอบคุณที่ช่วยให้เข้าใจอะไรมากขึ้นครับ

    ตอบลบ
  2. ทำแบบนี้ก็เท่ากับว่าฆ่าเงินกระดาษน่ะซิ

    ตอบลบ