สิ้นความเป็นไทย - แล้วจงตายอย่างทาส
การทำลายระบบเศรษฐกิจพื้นฐานและ เปิดทางให้ต่างชาติยึดครองเบ็ดเสร็จ สิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดของการบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นี้ มิได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติ หรือรักษาความมั่นคงของสถาบันทั้งสาม แต่อย่างใด หลักฐานนี้ท่านสามารถเปรียบเทียบได้จากรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ในอดีตที่ยังไม่ถูกอิทธิพล " วาติกัน " เข้ามามีบทบาทนั้น จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ . ศ . ๒๔๗๕ ถึงปี พ . ศ . ๒๕๓๘ เรามีรัฐธรรมนูญทั้งหมด ๑๕ ฉบับ ทุกฉบับล้วนแต่มีบทบัญญัติปกป้องสิทธิของประชาชนชาวไทย อันหมายถึงประชาติชาติไว้ทุกฉบับ แม้กระทั่งฉบับสุดท้ายคือ รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘ จะเห็นได้จากมาตรา ๗๕ " รัฐจะต้องสงวนอาชีพบางประเภทที่สำคัญให้แก่คนไทย "
แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี๒๕๔๐ มิได้มีข้อ ความใดในบทบัญญัติของมาตราใด ที่ระบุถึงการปกป้องอาชีพของชาวไทยไว้เลยแม้แต่แห่งเดียว หลายท่านคิดว่าเป็นเพราะความบังเอิญ ถ้าหากไม่มีบทบัญญัติ ที่ชัดแจ้งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพล " วาติกัน " ที่ส่งผลให้มีบัญญัติรัฐธรรมนูญที่สนับสนุน กลุ่มองค์กร NGO และตัวบุคคลต่าง ๆ ที่ร่วมเคลื่อนไหวและสัมพันธ์กับขบวนการ " โกมลคีมทอง " เปิดโอกาสให้นายทุนต่างชาติ และป้องกันการดำเนินการใด ๆ ทางกฎหมายต่อ " ประชาชนสัญชาติคาทอลิก " เพื่อให้มีโอกาสเข้ามายึดครองเศรษฐกิจระดับมหภาค และอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ วรรค ๓ " การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างใน เรื่องถิ่นกำเหนิด เชื้อชาติ ภาษา ... ฯลฯ ... จะกระทำมิได้ " นอกจากจะไม่ปกป้องสิทธิของชาวไทยแล้วยังรับรองสิทธิของต่างชาติอีกด้วย ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศได้โดย เสรีไม่จำกัดประเภท
เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น แน่นอนที่สุดต้องมีข้อพิสูจน์เพราะ ปรากฏว่าข้อบังคับเงื่อนไขของ IMF( กองทุนระหว่างประเทศ ) กลายเป็นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทย ปี๒๕๔๐ มาตรา ๘๗ " รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด " ท่านทราบหรือไม่ว่าคำว่า " กลไกตลาด " นั้นมิใช่ภาษากฎหมาย และไม่เคยปรากฏในคำนิยามใด ๆ ในประมวลกฎหมายใดของโลกมนุษย์ด้วย ย่อมต้องทราบว่าประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ย่อมไม่มีทางแข่งขันแบบเสรีกับต่างชาติได้เลยไม่ว่าในวิถีทางหรือระยะเวลาใด ๆ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่พร้อม การบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนอกจากจะไม่ให้ประโยชน์แก่ประเทศชาติแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย
ท่านคงเห็นแล้วว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นกระบวนโดยคณะบุคคล ที่ยิ่งเห็นชัดไปอีกก็คือ การเสนอให้มีการยกเลิก ประกาศคณะปฏิวัติ ๒๘๑ ซึ่งเมื่อยกเลิกได้แล้ว จะทำให้ชาวต่างชาติมีสิทธิถือครองอสังหาริมทรัพย์ ( ที่ดิน ) ได้ไม่จำกัดเนื้อที่ และสถานที่ ๑๐๐ % และด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองจึงมีความต้องการจากกลุ่มขบวนการผลประโยชน์ ผลักดันให้นักการเมืองยกเลิก พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ นี้ เพราะเป็น พ.ร.บ. เดียวที่สามารถทำให้ผลประโยชน์ของขบวนการดังกล่าวไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะอำนาจของ พ.ร.บ. นี้สามารถประกาศ กำหนดเขตพื้นที่หวงห้ามได้ และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการให้ชาวต่างชาติถือครองที่ดินได้ ๑๐๐ % เป็นเรื่องอันตรายต่อความมั่นคงของบูรภาพ อาณาเขต และความมั่นคงของชาติเป็นอย่างมาก ในส่วนที่เกี่ยวข้องและบ่อนทำลายความมั่นคงของชาตินั้น ท่านสามารถพิจารณาได้ด้วยภูมิปัญญาของแต่ละท่านจากบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี ๒๕๔๐ อันมีผลเชื่อมโยงกันกับมาตรา ๓ และมาตรา ๘๗ ว่ามีการจัดทำกันอย่างเป็นขบวนการหรือไม่อย่างใด และประชาชนไทยจะได้ประโยชน์อะไรกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การกระทำดังกล่าว เป็นการร่วมกัน " บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ " ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ทั้งสิ้น ( จึงเป็นที่มาของความพยายามในการให้ยกเลิก พ.ร.บ. นี้ ) และระเบียบรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ อีกด้วย และในปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ปรากฏผลพิสูจน์ชัดแจ้งว่า รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นี้ ได้ส่งผลร้ายให้กับประเทศไทยอย่างแสนสาหัส )
การทำลายระบบกระบวนการยุติธรรม ให้ NGO มีอำนาจเหนือรัฐ
ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๔ " สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า ที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๓๐๓ ( ๒ ) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง " ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นสำหรับข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า " โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงในชั้นศาลว่าจริงเท็จ " เพราะมาตรา ๓๐๓ วรรคหนึ่งระบุเพียงคำว่า " ส่อว่า " ไม่ได้ใช้คำว่า เมื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ว่ากระทำผิดจริง จึงเป็นข้อสังเกตว่าข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งแต่สามารถถูกถอดถอนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนตามจำนวนดังกล่าวข้างต้น และมติของวุฒิสภาถือเป็นที่สุด ขณะที่นักการเมืองได้รับการยกเว้น โดยระบุไว้ในตามมาตรา ๓๐๗ วรรคสาม ว่า " มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" เป็นงั้นไป แสดงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ นักการเมืองลอยตัว แล้วจะร่างมาทำพระแสงอะไรครับ ในเมื่อใช้บังคับนักการเมืองไม่ได้ จะเห็นได้ว่าการที่บัญญัตินี้ก็เพราะ " วาติกัน " สามารถปกป้องบุคลากรของตนที่ได้ส่งเข้ามาเป็นนักการเมืองไม่ให้ถูกถอดถอนได้ นั่นเอง ไม่มีเหตุผลอื่น หรือว่ามี ? ที่แสบสันต์สุดพรรณนาก็คือ การจะถอดออกจากตำแหน่งได้นั้นก็ต้องเป็น " คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ( ศาลเตี้ย )" คิดกันเอาเอง
แต่ที่แน่ไปกว่านั้นอีกก็คือ ได้มีการออกกฏมายในเดือน มีนาคม พ . ศ . ๒๕๔๓ ระบุไว้อีกว่า " ผู้ไม่ไปเลือกตั้ง หมดสิทธิลงชื่อถอดถอน นักการเมือง " พร้อมกับให้ปั้มลายนิ้วมือ ซึ่งไม่ปรากฏที่ใดในโลกนอกจากอาชญากร จากนั้นก็วางแผนเลือกตั้ง " วุฒิสภา " แบบซ้ำซาก อ้างว่ามีการทุจริต แต่แท้ที่จริงแล้ว ก็คือ " การฉ้อฉล เพื่อตัดสิทธิประชาชนไม่ให้ลงชื่อถอดถอนนักการเมือง " และล่าสุดปรากฏการกระทำอันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างร้ายแรงโดยศาลรัฐ ธรรมนูญ ในกรณีรับตีความว่า " ฐานะขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวนั้น เป็นประชาชนหรือไม่ ??"
เป็นการแกล้งโง่หรือว่าเจตนาหมิ่นพระบรมราชานุภาพ โดยศาลรัฐธรรมนูญกันแน่ และถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า " พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ประชาชนไทยอะไรจะเกิดขึ้น ? " นี่คือการทดสอบกระแสของประชาชน ในการใช้ศาลรัฐธรรมนูญ ถอดถอนองค์พระมหากษัตริย์อย่างแยบยลที่สุด เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญควรกระทำคือไม่รับวินิจฉัยเรื่องนี้ เพราะแม้นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ซึ่งถูกยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่รับ เหตุใดจึงรับเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่องค์พระมหากษัตริย์รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดว่าทรงอยู่เหนือการเมือง นี่คือที่สุดของที่สุด องค์กรศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ สนับสนุนการทำลายสถาบันโดยเฉพาะ การทำลายพระราชอำนาจของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางตุลาการ
ซึ่งเดิมศาลสถิตยุติธรรมอันเป็นอำนาจตุลาการ ทำการในพระปรมาภิไธยองค์พระมหากษัตริย์ ตัดสินเด็ดขาดแล้วศาลรัฐธรรมนูญยังยกเลิกได้ รวมทั้งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นหลักการของ " วาติกัน " ดังได้กล่าวไปแต่ต้นนั้น จึงใช้อิทธิพลให้มีบทบัญญัติตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำลายอำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่พึ่งสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรมของพสกนิกรชาวไทย และเพื่อทำลายความจังรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการขอพระราชทานอภัยโทษ และหากทรงพระราชทานอภัยโทษแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ยกเลิกได้ แสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ขององค์กรนี้ จึงเป็นคำถามว่า การตั้งขึ้นมานี้เพื่อประโยชน์ของใคร ? และใครคือต้นคิด
ความร้ายกาจที่สุดของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ตรง หมวด ๘ ส่วนที่ ๒ คือ การตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอยู่ ๑๕ มาตรา โดยแบ่งออกเป็นดังนี้ คือเรื่องเกี่ยวกับศาลมี ๕ มาตรา ศาลทหารมี ๒ มาตรา แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับมี ๑๕ มาตรา ซึ่งมากกว่าศาลอื่นทั้งหมด และเป็นสถาบันที่มีอำนาจและมีความยิ่งใหญ่กว่าอำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ และทั้งสามอำนาจนี้จะเอื้ออำนวยต่อกันและถ่วงดุลอำนาจกันในตัว ซึ่งสถาบันยุติธรรมคือสถาบันตุลาการจะถือว่าเป็นที่พึ่งสุดท้ายอันให้ ความยุติธรรมกับประชาชน ไม่ว่าจะเกิดอะไรกับสภา หรือรัฐบาล ไม่ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองจะดำเนินไปอย่างไร ศาลสถิตยุติธรรมยังอยู่คู่กับชาติและเป็นเสาหลักที่พึ่งของประชาชนตลอดมาเสมอ เป็นเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใดในชาติไทย แม้กระทั่งก่อนเปลี่ยนการปกครอง ท่านผู้พิพากษาทุกท่านในกระบวนการยุติธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันได้นามว่า " ในพระปรมาภิไธย " ทั้งสิ้นเป็นผู้ทรงเกียรติ และทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยความยุติธรรม
แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับปรากฏว่าศาลสถิตยุติธรรมอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนนั้นไม่มีเสีย แล้วเพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจที่ถูกตั้งขึ้นใหม่ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า หากท่านผู้มีปัญญาได้วินิจพิจารณาด้วยเหตุและผล ตามตัวอักษร หรือแม้จะเป็นวิธีปฏิบัติอันปรากฏในรัฐธรรมนูญเองก็ตาม จะเห็นได้ไม่ยากว่าศาลรัฐธรรมนูญ ได้ตั้งขึ้นเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวนั้นมีจำนวนเพียง ๑๕ คน เมื่อพิจารณาถึงวิธีการเข้ามาของกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาเป็นศาลรัฐธรรมนูญ อันมีอยู่ ๒ มาตรานั้น จะเห็นได้ว่า มีคนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะเข้ามาได้ เป็นการเขียนเพื่อหลอกให้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และที่ชัดที่สุดคือการเขียนเปิดช่องไว้เสียอีกด้วยว่า ใครจะเป็นผู้เข้ามา ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสนองบุคคลที่เป็นกลุ่มนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์เสียทั้งสิ้น เรียกว่าจะเลือกเอาคนจำนวนหนึ่งเข้ามาเสียอย่าง และการจะเลือกกันอย่างไรนั้นก็มองได้ชัดว่าเป็นการเลือกแบบพรรคพวกหรือพวก พ้องทั้งสิ้น เพราะจาก ๑๕ คนนี้ เมื่อมีการเลือกขึ้น คงไม่ต้องอธิบายก็ทราบได้ว่า เสียงข้างมากนั้นจะอยู่ฝ่ายใด แล้วใครจะได้เป็นผู้รับเลือกให้ไปอยู่ตำแหน่งตรงนั้น ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็ยาวนานร่วม ๓ รัฐบาล คือ ๙ ปี และยิ่งกว่านั้นยังมีอำนาจที่สูงสุดกว่าอำนาจใดอีกด้วย เมื่อพิจารณาตามตัวมาตรา ๒๑๖ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับมาตรา ๒๗ ระบุไว้อย่างชัด ซึ่งนักกฎหมายสามารถจะพิสูจน์ได้ไม่ยาก แต่ประชาชนซึ่งขาดประสบการณ์ทางกฎหมายไม่มีทางที่จะทราบข้อมูลนี้ได้ เป็นการซ่อนเงื่อนโดยเชื่อมโยงตัวกฎหมายให้เกิดการสับสนให้เกิดขึ้น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนให้ไขว้เขวจากเจตนาที่แท้จริงของ ผู้ ที่สร้างอำนาจใหม่นี้ขึ้น และอำนาจแห่งศาลรัฐธรรมนูญนี้ จะเป็นอำนาจเดียวที่สูงที่สุดเหนือกว่าอำนาจอธิปไตยทั้ง ๓
เดิมทีแล้วศาลรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อสมัยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น สภาวะของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในสมัยนั้นแต่อย่างใด ซึ่งการพิจารณากฎหมาย หรือข้อขัดแย้งทางด้านกฎหมาย รัฐสภาจะเป็นผู้ตีความในทุกกรณีที่เกิดปัญหาทางรัฐธรรมนูญขึ้น เมื่อระยะเวลาล่วงมาเกิดส่งครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น โดยจอมพล ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาลสมัยนั้น เป็นผู้ร่วมลงนาม แต่เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปรากฏว่าญี่ปุ่นแพ้สงคราม นั่นหมายถึงประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นจึงถือว่าเป็นผู้แพ้สงคราม ด้วยผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐบาล ( จอมพล ป . พิบูลสงคราม ) รัฐสภาได้ออกกฎหมายอาชญากรสงครามโลก ที่จะดำเนินคดีเอาผิดและลงโทษเด็ดขาดกับคณะรัฐบาล รัฐบาลดังกล่าว แต่เมื่อยื่นฟ้องต่อศาลแล้วผลกลับเป็นว่าศาลฎีกาพิพากษาตัดสินยกฟ้อง เนื่องจากว่าเป็นกฎหมายย้อนหลัง ไม่สามารถเอาผิดหรือลงโทษได้ ด้วยตัวบทกฎหมายอันไม่สามารถลงโทษต่อผู้กระทำความผิดดังกล่าวนี้ได้ขัด กับความเป็นจริงและความรู้สึกของประชาชนและรัฐสภา จากปัญหาดังกล่าวนี้ จึงมีการแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ ขึ้นเป็นครั้งแรก ( พ.ศ. ๒๔๘๙ ) และตลอดมา โดยทำหน้าที่คอยตีความข้อกฎหมาย อันมีขอบเขตเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานรัฐสภาเท่านั้น
และต่อจากนั้นมีรัฐธรรมนูญอีก ๗ ฉบับ มีตุลาการรัฐธรรมนูญ และพัฒนาการของศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายขอบเขตและอำนาจมากขึ้น แต่ก็ใช้ชื่อเรียกเป็นทางการและลายลักษณ์อักษรว่า " ตุลาการ " ไม่ใช่ " ศาล " ดังเช่นปรากฏในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับ " วาติกัน " นี้
ได้มีการพัฒนาอีกในสมัยยุค ตุลาคม ๒๕๑๗ โดยรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็ให้สิทธิและอำนาจตุลาการรัฐธรรมนูญมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่าหากอำนาจอยู่ที่รัฐสภาจะเกิดเผด็จการทางรัฐสภา เวลาจะตีความว่า ส.ส . ขาดคุณสมบัติหรือไม่ หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะเป็นเหมือนว่ารัฐสภาจะเข้าข้าง ส.ส . เพราะฉะนั้นความคิดเห็นของนักกฎหมายมหาชนในระยะนั้น จึงเพิ่มอำนาจให้ตุลาการรัฐธรรมนูญมากขึ้น ทำให้คลอบคลุมได้ทุกอย่างแต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีขอบจำกัดแต่ในส่วนของ ส.ส . เท่านั้น
แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับวาติกัน ( ๒๕๔๐ ) นี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจของตุลาการรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน โดยตั้งให้เป็น " ศาลรัฐธรรมนูญ " ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิดหลักกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งประเทศไทยเราใช้เป็นแม่แบบในการร่างกฎหมายตลอดมา ( ความเห็นของท่านอาจารย์สรรเสริญ ไกรกิติ ) เพราะว่าขณะนี้ได้กลายเป็นศาลไปเสียแล้ว ทำให้มีอำนาจที่สามารถยกเลิกมติใด ๆ อันรัฐสภามีมติไปแล้วได้ ตัวอย่างเช่นเมื่อรัฐสภามีมติให้ พ.ร.บ. ใดตกไปด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกสภา ไม่อาจนำมาบังคับใช้ได้ แต่ฝ่ายที่เสนอมาแล้วแพ้มติรัฐสภานั้น สามารถเข้าชื่อกันร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ พ.ร.บ. ที่แพ้มตินั้นเสียเอง ซึ่งผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถือเป็นที่สุด และมีผลบังคับใช้ทันทีโดยไม่มีข้อแม้ ซึ่งลักษณะการเช่นนี้ไม่เคยมีปรากฏในกฎหมาย หรือใช้ในประเทศใดในโลก นอกจากประเทศเผด็จการ หรือประเทศคอมมิวนิสต์เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงอำนาจที่เหนือกว่าอำนาจอธิปไตยของชาติ อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อันเป็นของปวงชนชาวไทย และนอกจากศาลรัฐธรรมนูญ จะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอธิปไตยนี้แล้ว ยังมีอำนาจเหนือองค์กร ต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วย และที่ยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีกก็คือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มีว่า
มาตรา ๒๖๒ ( ๒ ) " หาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของสภาทั้งสองรวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีข้อความ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า " จะเห็นได้เลยว่า " ใช้ ส . ส . เพียงยี่สิบคนเท่านั้น " และจะเป็นสภาใดก็ได้ หรือรวมกันสองสภาก็ได้ ก็สามารถเปลี่ยนกฎหมายได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เสียงข้างมากด้วย นี่คือการทำลายอธิปไตยหนึ่งคืออำนาจนิติบัญญัติ ในการออกกฎหมาย ซึ่งโดยปกติตลอดมาย่อมต้องใช้การลงมติในรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่ง แต่มารัฐธรรมนูญนี้ กลับใช้คะแนนเสียงเพียง ๒๐ คนรวมกับ ศาลรัฐธรรมนูญอีก ๑๕ คน รวมเบ็ดเสร็จการใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติใช้คนเพียง ๓๕ คน ก็สามารถออกหมายมาบังคับใช้กับประชาชนในประเทศแล้ว ซึ่งแน่นอนที่สุดหากกฎหมายนั้นเป็นประโยชน์กับประเทศชาติประชาชนก็โชคดีไป แต่หากเป็นกรณีที่ชาวต่างชาติต้องการประโยชน์ขึ้นมาบ้างเล่า ลองหลับตาคิดดูก็แล้วกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น และเมื่อพิจารณาตามหลักฐาน และตัวบุคคลรวมทั้งความสำพันธ์ของกรรมการยกร่าง ก็คงไม่ใช่เป็นการกล่าวหาอะไรที่จะกล่าวว่า " วาติกัน " อยู่เบื้องหลังการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยเฉพาะในส่วนกฎหมายเช่นนี้ออกมาเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยให้อำนาจล้นฟ้า แก่ศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระ ประมุขโดยแน่แท้ เพราะ " เมื่อกฎหมายหรือพระราชบัญญัติประกาศมีผล บังคับใช้นั้นจะมีผลเหนืออำนาจพระมหากษัตริย์เสียอีกด้วย "
เพราะรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ได้ระบุไว้ใน มาตรา ๓ กล่าวถึงอำนาจอธิปไตยว่า " อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ " ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้มติจากคนเพียง ๑๕ คน ก็ออกกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านสภา และมีผลบังคับใช้ และผลบังคับนั้นก็มีผลต่อองค์พระมหากษัตริย์อีกด้วยตาม มาตรา ๓๐ " บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฯลฯ " ซึ่งนับว่า เป็นการละเมิดพระราชอำนาจ และลดฐานะองค์พระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทยลงมาโดยแท้ และโดยถาวรโดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการบัญญัติกฎหมายที่ทำลายระบบรัฐสภาโดยเจตนา เมื่อท่านได้อ่านมาถึงตรงนี้ท่านอาจจะคิดว่าผู้เขียนคิดมากไปเอง สสร . ส่วนใหญ่แล้วคงจะไม่มีเถยจิตคิดที่จะทำเช่นนั้น ครับผมคงจะก็เชื่อด้วยความบริสุทธิใจเช่นเดียวกันกับท่านนั่นแหละครับ หากไม่ได้ทราบมาก่อนว่า
เมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ นายอานันท์ ปันยาชุน เมื่อครั้งยังไม่ได้เป็นประธานกรรมมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ได้แสดงจิตเจตนาไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในการแสดงปาฐกถา ซึ่งมี ข้อความตอนหนึ่งว่า " ระบบรัฐบาล หรือ ระบบรัฐสภา ไม่ใช่ระบบที่ถูกต้องไม่ใช่ Good Government ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และจะไม่ใช่เป็นเพียงอุดมคติของผม ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม " และนี่คือบทพิสูจน์ว่า นายอานันท์ ฯ เป็นคนพูดจริงทำจริง พฤติกรรมจากวันนั้นผลที่ออกมาก็คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และนี่คือสาเหตุที่ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า สสร . ผู้อื่นไม่มีเจตนาที่จะให้รัฐธรรมนูญมีกฎหมายซึ่งทำลายอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่นนี้ออกมา เพราะผู้ที่มีเจตนาย่อมมีการกระทำที่กระจ่างชัดด้วยผลงานอยู่แล้ว ยังหรอกครับยังไม่จบเท่านี้ ประวัติศาสตร์จีนว่าแน่ ๆ ที่มีศาลไคฟง แต่นั่นมันสมัยโบราณล้าสมัยยุคไดโนเสา สมัยอินเตอร์เนตมันต้องศาลรัฐธรรมนูญ นี้ซิถึงยิ่งใหญ่กว่าศาลไคฟง ที่ต้องชิดซ้ายหายไปจากประวัติศาสตร์เลยเชียวละ ไม่เพียงเท่านั้นความพิสดารยอกย้อนซ่อนเงื่อนในมาตรา ๒๖๒ ที่ซับซ้อนยิ่งกว่าหนังกำลังภายใน คงเป็นที่สะใจคนที่สร้างขึ้นมาเชียวแหละ ซึ่งหากท่านคิดว่าเป็นนักอ่านก็ลองอ่านดูซิครับว่าท่านจะต้องอ่านสักกี่รอบ ถึงจะเข้าใจและตีความตามข้อกฎหมายมาตรานี้ได้ ขนาดนักกฎหมายมหาชนชั้นยอดยังต้องเรียกหายาหอมมากินก่อนที่จะจับความหมายของ ข้อความในมาตรานี้ได้ว่า จุดมุ่งหมายในการสร้างศาลรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้เป็นเกราะป้องกันรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตนั่นเอง
จะเห็นได้จากอำนาจล้นฟ้าแม้ว่า กฎหมายอันรัฐสภาจะผ่านมติไปแล้วว่าไม่เห็นชอบ แต่ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกมติของรัฐสภาเสียก็ได้ พิจารณาเอาเองก็แล้วกันว่าใหญ่กว่ารัฐสภาไหม ? อำนาจนี้ระบุไว้ใน มาตรา ๒๖๒ วรรค ๕ " ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป " อำนาจของคำวินิจฉัยนี้ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา ผิดหลักการแห่งกฎหมายด้วยประการทั้งปวง ตาม มาตรา ๒๖๘ " คำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และ องค์กรอื่นของรัฐ " ท่านคงเห็นแล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมากมายมหาศาล ซึ่งแน่นอนลักษณะของอำนาจเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ศาลที่มีอยู่ในประเทศที่ปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย ผู้ที่ร่างมาตรานี้นับว่าเป็นอัจฉริยะทางด้านกฎหมายโดยแท้ ที่สามารถสร้างความสับสนในถ้อยคำแห่งกฎหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนได้โดย ไม่มีผู้คัดค้านในชั้นยกร่างรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด จึงเป็นที่สงสัยว่าในคณะ สสร . ผู้ยกร่างนั้น เข้าใจ หรือมีความปรารถนาที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตยในการปกครองหรือไม่ หากมีความปรารถนาและเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย เหตุไฉนจึงผ่านชั้นกรรมาธิการยกร่างมาถึงสภาได้โดยไม่มีผู้ใดกล่าวถึง และประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ คือนายอานันท์ ปันยารชุน มีเจตนาอะไร ??
นอกจากนี้ยังมีอำนาจอีกส่วนหนึ่งของศาลรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งบ่งชัดถึงความเป็นเผด็จการ กำจัดสิทธิ์ เหมือนกับมัดมือมัดเท้าฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้คิดแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ในรัฐธรรมนูญนี้ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่มีอยู่แล้วได้เลย ไม่ว่าในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้จะทำให้ประเทศชาติ และประชาชนเสียประโยชน์ หรืออธิปไตยก็ตาม อันที่จริงแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือออกพระราชบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ตามที่ปรากฏในหมวด๑๒ หากอ่านผ่าน ๆ ก็คิดว่าทำได้ไม่ยากนัก แต่ความเป็นจริงแล้วทำไม่ได้เลย และยิ่งไปกว่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ยังสามารถออกกฎหมายวิธีพิจารณาได้เองอีกด้วย เป็นการควบคุมการพิจารณาและพิพากษาอย่างเสร็จเด็ดขาดเหมือนศาลเตี้ย ซึ่งก็มีปรากฏอยู่ในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฏีกา อีกด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเห็นอย่างชัดแจ้งว่าเป็นการทำลายสถาบันยุติธรรม ขัดหลักการของความเป็นศาล เป็นการบังคับให้ศาลยุติธรรมทำการพิจารณา พิพากษาให้กับคนกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะขัดกับ มาตรา ๒๓๔ และ ๒๓๕ ที่วางไว้ในส่วนทั่วไปในเรื่องศาลอันปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เช่นเดียว กัน โดยมีบทบัญญัติวิธีพิจารณาไว้ในส่วนที่ ๔ ของหมวดที่ ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วก็เป็นการสมควรที่จะต้องมีการตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กลับมีอำนาจในการออกวิธีพิจารณา หรือกฎหมายวิธีพิจารณา ที่เรียกกันว่าวิธีบัญญัตินั้น เดิมหน้าที่การออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณานี้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาซึ่ง ทำหน้าที่นิ ติบัญญัติเป็นผู้กระทำโดยตรง และการร่างวิธีพิจารณานี้โดยปกติธรรมดาแล้วจะกระทำโดยการออกพระราชบัญญัติ ขึ้นภายหลัง ซึ่งเรามักเรียกว่ากฎหมายลูก ไม่เคยปรากฏว่าจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนี้ หากพิจารณาจากองค์ประกอบ และเจตนา พร้อมทั้งตัวบุคคลซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ แล้วพอให้คำจำกัดความได้ว่า เนื่องจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญนี้มีความเกรงกลัวว่า เมื่อร่างกฎหมายลูกขึ้นแล้ว จะไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการ หรือทำให้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามที่ตนต้องการนั้นมีอำนาจน้อยลง เพราะรัฐสภาจะไม่ลงมติเห็นชอบเมื่อมีการพิจารณามาตรานี้ ท่านจึงออกเป็นบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเสียเลย และนี่แหละที่ท่านกลัวนักกลัวหนาว่า จะมี การแก้ ไข ประกาศโจ่งแจ้งว่า รัฐธรรมนูญนี้แม้อักษรตัวเดียวก็แก้ไขไม่ได้ และออกปลุกระดม เบี่ยงเบนข้อมูลให้ประชาชนสับสนว่า สส . กลัวรัฐธรรมนูญนี้จะผ่าน เพราะ สส . ไม่ต้องการให้มีการตรวจทรัพย์สิน ประชาชนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงหลงกระแสและพากันมาบังคับขู่เข็ญให้รัฐสภา ให้มีมติทางเดียวคือรับร่างรัฐธรรมนูญนี้ อย่างไม่มีเงื่อนไข ห้ามปฏิเสธ และห้ามแก้ถ้อยคำใด ๆ ในรัฐธรรมนูญอีกด้วย หากท่าน สสร . ท่านใดที่อ่านข้อความนี้ และต้องการที่จะดำเนินการทางศาล ก็ขอเชิญได้ทุกเวลา ผู้เขียนพร้อมที่จะแสดงหลักฐานและข้อเท็จจริงให้ประจักษ์ เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน เพราะโดยความเป็นจริงโดยประเพณีซึ่งวิธีพิจารณานั้นควรออกกฎหมายเป็นพระราช บัญญัติโดยผ่านทางรัฐสภา แต่ ผู้ยกร่าง รัฐธรรมนูญรู้ดีว่าหากท่านไม่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในเรื่องวิธีพิจารณาทั้งสองแห่งนี้ แน่นอน บทบัญญัติ และอำนาจของศาลนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
นอกจากจะสร้างอำนาจให้กับศาลรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังทำลายอำนาจอธิปไตยทางศาล ทำลายระบบกระบวนการยุติธรรมของชาติอีกด้วย ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ นี้ บังคับให้ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลชั้นต้นและสูงสุดอยู่ในศาลเดียวกัน ซึ่งไม่เคยปรากฏ ณ ที่ใดในโลกที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาก่อนนอกจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ " ไม่ปรากฏว่ามีประเทศใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นศาลสูงสุด หรือให้ศาลสูงสุดเป็นศาลชั้นต้น " หากท่านผู้ใดพบเห็นกรุณาช่วยบอกให้ทราบด้วยเถิดเป็นวิทยาทาน ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า
มาตรา ๓๑๐ " ในการพิจารณาคดี ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหลักในการพิจารณา และอาจใต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร " ซึ่งอันที่จริงเป็นการเอาวิธีพิจารณาใส่เข้าไปนั่นเอง พร้อมกันนั้นก็ใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๖๕ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะแต่งตั้งคณะบุคคลได้เอง หรือเรียกเอกสาร หลักฐาน มาใช้บังคับศาลฎีกาให้ดำเนินการตามที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องการได้ สิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ศาลฎีกา ทำการในพระปรมาภิไธย แต่ ศาลรัฐธรรมนูญทำการใน ?? มีคำถามว่าศาลรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจอะไร ? ออกคำสั่งยกเลิกเพิกถอนคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการอันเป็นส่วนหนึ่งในอำนาจอธิปไตยของชาติ และทำการในพระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นประมุขของชาติ อีกชั้นหนึ่งด้วย และคำพิพากษาของศาลฎีกาถือเป็นสูงสุดจะ อุทธรณ์ ใด ๆ มิได้ แสดงว่าศาลรัฐธรรมนูญใหญ่กว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการดำเนินการ การพิจารณาคดีทั้งนี้ยังรวมไปถึงการสืบพยานเช่นเดียวกับการทำงานของศาลชั้นต้น เป็นลักษณะของระบบการไต่สวนแบบฝรั่งเศส ( เชื่อว่า สสร . ผู้ยกร่างคงจบจากฝรั่งเศส ผู้เขียน ) ซึ่งผิดหลักการของการพิจารณาคดีของศาลไทยซึ่งใช้ปฏิบัติกันสืบมาจนปัจจุบัน เป็น ระบบการไต่สวนแบบอังกฤษ โดยข้อกฎหมายนี้แสดงชัดว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับระบบศาลไทยว่าใช้ระบบใด ( คงทราบดีว่าเขียนอย่างไรก็ต้องผ่านว่างั้นเถอะ เลยขาดความละเอียดในการพิจารณาถึงระบบศาล ผู้เขียน ) เพราะระบบศาลฝรั่งเศสนั้นใช้ระบบไต่สวน แต่ระบบศาลอังกฤษใช้ระบบกล่าวหา และที่สำคัญไปกว่านั้นบทบัญญัตินี้ยังแสดงให้เห็นถึงอาการเสื่อมทางปัญญาของผู้ยกร่าง เนื่องจากระบบศาลของฝรั่งเศสเป็นระบบศาลพิเศษ ต่างจากศาลยุติธรรมธรรมดานั้นมีองค์คณะประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกา ๕ ท่าน สส . ๖ ท่าน และ ส.ว. ๖ ท่าน ซึ่งเพิ่งจะเริ่มตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ . ศ . ๒๕๓๗ นี่เอง และส่วนแตกต่างจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ก็คือ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลพิเศษฝรั่งเศสนี้ถึงที่สุดแล้ว ก็ยังสามารถฎีกาไปยังศาลฎีกาให้พิจารณาอีกครั้งได้ แต่ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ของไทย ตัดสิทธิ์ในการฎีกาทุกชนิดโดย มาตรา ๒๖๘ " คำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ "
การจำกัดสิทธิของประชาชนโดยรัฐธรรมนูญ ฉบับ " วาติกัน "(2540) นี้อนุญาตให้ทำได้ทุกเวลา หากเป็นความต้องการของ สส . ๒๐ คน และโดย คำวินิจฉัยของรัฐสภา โดยมีมาตรา ๒๙ " การจำกัดสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนที่กฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิ ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้ กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น " คำถามก็คือ " อะไรคือเท่าที่จำเป็น ??? "
วรรค ๒ ตอนท้าย " ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วยวรรคท้าย บทบัญญัติวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้นำมาใช้บังคับกับ กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย โดยอนุโลม "
คำว่า " บทบัญญัติแห่งกฎหมาย " นั้น ในรัฐธรรมนูญฉบับ " วาติกัน " จะหมายเอาเฉพาะกฎหมายอันร่างขึ้นตามรัฐธรรมนูญนี้ ( กฎหมายลูก ) ไม่ใช่หมายถึง กฎหมายอาญา แพ่ง หรือประมวลกฎหมายอื่น เพราะมีกำหนดไว้ใน หมวด ๑ มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดแห่งกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้ เป็นการเขียนข้อความให้คนสับสนในคำว่า ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คนก็คิดว่ามีกฎหมายป้องกันอยู่แล้วแต่เดิมคงไม่เป็นไร แต่อันที่จริงแล้ว กฎหมายเหล่านั้นใช้ไม่ได้เลย ต้องเป็นกฎหมายที่ร่างภายใต้รัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น ยกเว้นเสียแต่ว่า หากไม่มี หรือไม่ได้กล่าวถึงหรือบัญญัติในกฎหมายลูกก็ใช้กฎหมาย หรือประมวลกฎหมายอื่นไปพลางก่อนตาม มาตรา ๗ ซึ่งวันดีคืนดีศาลรัฐธรรมนูญอาจยกเลิกกฎหมายได้ทุกเวลา นี่คือเผด็จการเบ็ดเสร็จ เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถใช้ประโยชน์โดยการใช้เงิน ซื้อกฎหมาย โดยออกกฎหมายตามที่ตนเองเพื่อให้สามารถรองรับ ระบอบของประเทศมหาอำนาจที่ร่วมมีผลประโยชน์ในประเทศไทย สามารถใช้รัฐธรรมนูญนี้ในระบบซื้อกฎหมาย (Lobby) ได้นั่นเอง