วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

Gold Update....This way

เป้าหมายราคาทอง $1,500 ลองดู Link นี้ครับทั้งการวิเคราะห์กราฟแทคนิค และปัจจัยพื้นฐานครบเครื่อง ข้อมูลแน่นหนามากครับ ขอบอก!!! นีดึงมาบางส่วน เดี๋ยวมาแปลให้อีกทีครับ ใครอ่านได้ อ่านนำไปก่อนเลยครับ.......

http://www.kitco.com/ind/degraaf/sept242009.html


นี่คือปัจจัยพื้นฐานบางส่วนที่จะดันราคาทองไปแตะที่ระดับ $1,500 / ออนซ์ครับ
    • เมื่อระดับราคาทองคำทะลุ $1,000 ทำให้ไม่มีแนวต้านของราคาใดๆ ที่ทองคำจะฝ่าไปไม่ได้
    • เกิดปรากฏการณ์การเสื่อมค่าของเงินสกุลต่างๆพร้อมกันทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    • โดยปกติกลุ่มธนาคารกลางจะเป็นผผู้ควบคุมราคาทองคำ โดยการนำทองคำสำรองที่มีออกมาเทขายในตลาดโลก แต่กลับกลายเป็นผู้ที่ต้องซื้อทองคำเก็บเข้าเสียเอง รัสเซียกว้านซื้อทองคำเข้าคลัง 300,000 ออนซ์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จีนประกาศเข้าซื้อทองคำ 403.3 ตัน หรือท้ังหมดที่ IMF นำออกมาเสนอขาย และจะเข้าซื้อทันทีที่ราคาอ่อนตัวลง ที่ผ่านมากลุ่มธนาคารกลางนำทองออกมาทุ่มตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้่งที่ไม่มีการปรับตัวเลขทางบัญชี ทองคำที่ว่ากันว่าอเมริกาเก็บไว้ที่ Fort Knox ไม่มีการเข้าไปตรวจสอบโดยองค์กรระหว่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1953!!!  ในทางลึกไม่มีเหลือแล้วครับ สุดท้ายความพยายามของ IMF ที่จะนำทองคำออกขายแทบไม่แรงกระเพื่อมใดๆ ต่อราคาทองคำในตลาดโลกเหมือนครั้งทีผ่านๆ มา
    •  รัฐบาลจีนกระตุ้นให้ประชาชนเข้าซื้อทองคำในวงกว้าง ซึ่งเป็นการกลับลำจากนโยบายที่ผ่านๆ มาโดยสิ้นเชิง และนโยบายนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดทองคำของฮ่องกงในทันที ทำให้ร้านค้าทองคำในประเทศต้องเพิ่งปริมาณทองจำนวณมหาศาลเพื่อรองรับกำลังซื้อนี้ และนำไปสู่การดูดซับ Supply หรืออุปทานของทองคำในตลาดโลกซึ่งอยู่ในสภาวะขาดแคลนมาอย่างต่อเนื่องนานแล้ว
    • จีนแสดงความไม่พอใจต่อท่าทีของสหรัฐ ที่ทำให้เงินดอลล่าเสื่อมค่าจากนโยบายการเงินที่ผ่านๆ มา และยังเพิ่มภาษีการนำเข้ายางรถยนต์จากจีนขึ้นอีก 25% จีนจึงตอบโต้สหรัฐด้วยการเทขายเงินดอลล่าและพันธบัตรสหรัฐออกมาอย่างต่อเนื่องโดยการเข้าซื้อ Commodity และโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่นทองคำ
    • จากการที่ธนาคารทองคำต่างๆ ของสหรัฐได้เปิดสถานะ Short ทองคำไว้ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า และถึงเวลาที่จะต้องไปไล่ซื้อทองคำเพื่อไปปิดสถานะ ท้้งๆ ที่ราคาทองคำยังอยู่ในระดับสูง และประสบภาวะขาดทุนจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้อีกต่างหาก
    • ทันทีที่ราคาทองยืนอยู่เหนือ $1,000 กองทุนป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่ทำกำไรได้จากการเข้าไปเปิดสถานะ Long ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ ก็มีท่าทีที่จะเพิ่มการเข้าซื้อสัญญาใหม่ในสถานะ Long แทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแรงกดดันอย่างต่่อเนื่องให้กับ ธนาคารทองคำ (Bullion Bank)เหล่านั้น 
    • นักลงทุนจำนวนมากเริ่มตระหนักแล้วว่าการเข้าซื้อสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าในตลาด GLD, SLV และ ETF ไม่น่าจะมีปริมาณทองคำเพียงพอต่อการส่งมอบอย่างแน่นอน และจะมีการผิดนัด และทิ้งสัญญาซื้อขายจำนวนมหาศาลในที่สุด นักลงทุนเหล่านี้จึงแห่เข้าซื้อทองคำจริง หรือ Actual Gold แทนการซื้อขายสัญญาหรือกระดาษ
    • อัตราเงินเฟ้อในระดับสูงถึง 2 หลักเริ่มก่อตัวขึ้นจากความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติต่างๆ ด้วยนโยบายการอัดฉีดเงินกระดาษเข้าสู่ระบบ ในขณะที่อัตราการผลิตของทองคำจากเหมืองทองต่างๆ มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้เพียง 1.5% ต่อปีเท่านั้น ซ้ำยังส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ถึบตัวสุงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
    • เหมืองแร่ทองคำโดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินที่เสื่อมค่าไปแล้ว ซึ่งแต่ละเหมืองนั้นมีอายุที่จำกัด ยกเว้นการค้นพบสายแร่ใหม่ในเหมืองนั้นๆซึ่ง ณ ปัจจุบันเกือบทุกเหมืองกำลังประสบปัญหาเดียวกันคือการค้นพบสายแร่ทองคำใหม่ในเหมืองที่ตัวเองเป็นเจ้าของอยู่ อัตราการค้นพบสายแร่ทองคำในอัฟริกาใต้ ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายความตื่นตัวและห่วงใยในสภาพแวดล้อมที่มากขึ้นในหลายๆ ประเทศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของทองคำมีราคาที่สูงขึ้นและส่งผลให้ขั้นตอนการผลิตทองคำสู่ตลาดโลกกินเวลามากขึ้นครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น