วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ในมุมมองของนักวิชาการไทย " ศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ "

"ดร.สมภพ" วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงปีเถาะ "ไม่ควรนำประเทศไปติดกับดักประชา(ภิวัฒน์)นิยม"

วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09:29:43 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIT วิเคราะห์ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในปี 2554 ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ อย่างรอบด้าน อยากรู้ว่า ปัจจัยเสี่ยง มีอะไรบ้าง ต้องอ่านบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้
 
@ ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก มีเรื่องใดต้องระวังเป็นพิเศษ ในปี พ.ศ.2553 นั้น เศรษฐกิจโตขึ้นมาจากฐานที่ต่ำมากกว่าปีพ.ศ.2552 ซึ่งปีพ.ศ.2552 ลดลง 2 % กว่า เพราะฉะนั้นปีพ.ศ.2553 โตขึ้นมา 7 %กว่า เลขสุทธิที่ได้มาทั้งหมดก็ 5 % ซึ่งเป็นอัตราปกติที่ไทยต้องโตขึ้นมา แต่พอมาถึงปีพงศ.2554 เลขอัตรามันก็จะโตขึ้นมาอีก สุทธิ 5 % แล้วก็จะโตต่อไป มันก็จะยากลำบากขึ้นคือต้องอาศัยฝีมือไม่ใช่อาศัยการปรับฐานทางเศรษฐกิจ แล้วปีหน้านี้หากเราวิเคราะห์กันไปอีกคงต้องแยกแยะเป็น 2 ระดับคือ เศรษฐกิจภายนอกประเทศกับเศรษฐกิจภายในประเทศถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น ผมคิดว่าเศรษฐกิจภายนอกประเทศคงจะปั่นป่วนมากกว่าปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอเมริกายังไม่มีการปั้มให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ การว่างงานมีอยู่ 98 % แบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ ถ้าการว่างงานยังคงมีมากขึ้นนี้ QE ก๊อก 3 ก็คงออกมา ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะออกมา เพราะผมดูแล้วก๊อก 2 นี้อาจจะปั้มไม่ดี ตอนนี้หุ้นมันขึ้นจริงแต่ราคาบ้านเริ่มหยุดไหลลง แต่ว่าขณะเดียวกันมันไม่มีตัวแปรที่จะเพิ่มไปสู่การจ้างงาน ถ้าการจ้างงานไม่ขยายตัวก็จะทำให้การบริโภคในอเมริกาไม่มีการกระเตื้องตัว ซึ่งขณะนี้การบริโภคการกระเตื้องตัวมันสร้างปัญหาให้แก่อเมริกามาก เพราะว่าการบริโภคภายในประเทศมีสัดส่วน 76 % ของจีดีพี ฉะนั้นก็ต้องหาทางให้การจ้างงานลดลงให้ได้ ทางหนึ่งก็คืออัดเงินออกมาเพื่อ 1.พยุงสถานะของเศรษฐกิจอเมริกาที่เป็นอยู่ขณะนี้ให้มันขยายตัวมากกว่านี้ ให้มันมีผลในเชิงลูกโซ่ ให้มันมีหุ้นขึ้น ราคาบ้านก็เริ่มขยายตัวเพราะเงินมันเยอะ จากนั้นจะได้สร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้น นั่นคือประการแรก 2.ปั้มเงินออกมามากๆ จะทำให้ดอลล่าร์อ่อนซึ่งเป็นการไม่ควรอยู่แล้ว อเมริกากลัวเงินฝืดมากกว่า ขณะนี้มันทำท่าจะมีเงินฝืดในอเมริกา เพราะว่า CPI (Consumer Price Index) หรือว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมันแค่ไม่เกิน 1 % หลังจากนั้นก็จะต้องอัดออกมาอีก พูดง่ายว่าคุณจะเก็บก็เก็บไปฉันจะอัดออกมา พออัดออกมา ก็แน่นอน เงินเหล่านี้มันก็ต้องไหลออกนอกประเทศ หลังจากนั้นปีหน้าผมว่าเอเชียจะปั่นป่วนมาก เพราะเงินไหลเข้ามา 

@ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมกับเศรษฐกิจไทยคืออะไร เงินบาทมีการแข็งค่ามาก เมื่อแข็งค่ามากมันก็จะมีทีท่าของการเกิดกรณีฟองสบู่มากขึ้น หุ้นจะขึ้น ราคาสินทรัพย์ประกันเงินก็จะขยายตัวจะเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อขยายตัว ฉะนั้นแบงค์ชาติก็อาจจะเพิ่มดอกเบี้ยขึ้น อย่างน้อย 3 - 4 ครั้งในปีหน้า แต่ดอกเบี้ยนโยบาย 2 % RP 2 % ในขณะนี้ก็อาจจะขึ้นไปเป็นอย่างน้อย 3 % ซึ่งก็หมายถึงดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากก็จะถูกปรับขึ้น ซึ่งพอมันปรับเพิ่มขึ้นราคาค่าแรงก็จะถูกปรับขึ้น มีแต่ราคาน้ำมันถึงแม้มันจะไม่เพิ่มมากมายแต่ก็คงอุดไม่อยู่ถ้ามันขึ้นจริง ๆ เพราะผมเชื่อว่าในปีหน้าเงินที่มันลดลงและจะเข้าไปในสินค้าจำพวกพื้นฐาน เช่น น้ำมัน ถ้ามันดันราคาน้ำมันขึ้นไปเกิน 100 เหรียญ อุดอย่างไรก็คงไม่อยู่ เพราะว่าตอนนี้ก็ตั้งเป้าเอาไว้อุด 3 เดือน ถ้ามันเกิน 100 เหรียญมันจะกลายเป็นด้านลบจะตามมาทันที ซึ่งจะทำให้เห็นว่าเงินเฟ้อขยายตัวค่อนข้างมาก ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น เพราะในเมืองไทยอาจจะน้อยกว่า ซึ่งในจีนจะขยายตัวมากกว่านี้ ในอินเดียมีมากกว่าทั่วทั้งเอเชีย หลายๆประเทศมีมากกว่านี้ด้วย ซึ่งหมายถึงทุกประเทศจะต้องปรับปรับดอกเบี้ยขึ้นหมด เมื่อปรับดอกเบี้ยขึ้นแน่นอนว่าประเทศอื่นก็ต้องตกกระไดพลอยโจนและต้องปรับ ดอกเบี้ยขึ้นตาม ก็เพื่อลดความสมดุลย์ระหว่างประเทศ ฉะนั้นต้นทุนดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น ต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น อะไรต่างๆ เพิ่มขึ้น มันก็จะต้องดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นสุดท้ายมันก็จะเกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยก็ถูกปรับขึ้นอีก แล้วมันจะเกิดสภาวะใยแมงมุม ของการขยายตัวอัตราเงินเฟ้อ 

@ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ จะแตกไหม ฟองสบู่ยังคงไม่น่าจะแตกง่าย ๆ ประการแรก ฟองสบู่ในไทยยังไม่ได้ขึ้นมา แล้วประการที่สองก็คือว่า สถานะของแบงค์ชาติและพวกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนายังไม่มีปัญหามาก ขณะที่ราคาบ้านในไทยเมื่อเทียบกับในจีน เกาหลี สิงค์โปร์ ฮ่องกง ของเรายังขึ้นน้อยกว่าหลายเท่า 

@ แนวโน้มปี 54 การบริหารคงไม่ง่ายนัก น่าจะมีความเสี่ยงไม่ใช่น้อย ในปีพ.ศ.2554 มีปัจจัยที่เสี่ยงและไม่เสี่ยงเพิ่มขึ้น มีปัจจัยในด้านดีคือเงินที่อัดออกมาจากที่ประชาภิวัฒน์ ทำให้อำนาจซื้อเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออำนาจซื้อเพิ่มสูงขึ้นสินค้าทางการเกษตรจะขายดีขึ้น และราคาสินค้าเกษตรปีหน้าจะดีมาก สภาพพอากาศแปรปรวน ต่างประเทศมีหิมะตก ซึ่งตกหนักในเดือนพฤศจิกายน ทำให้การเกษตรเสียหายมาก ในจีนก็เหมือนกัน ตอนนี้ที่หางโจวหิมะเป็นฟุตๆ ซึ่งปกติมันไม่เคยตกแบบนั้น
 
ฉะนั้นความแปรปรวนของปัญหาเรื่องน้ำท่วมในไทยจะทำให้ซัพพลายสินค้าทาง การเกษตรลดลง พอมันลดลงทำให้สินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเยอะ ซึ่งด้านหนึ่งก็เป็นประโยชน์ของเกษตรกร อำนาจซื้อของคนเมืองไทยอย่างน้อยก็ 50 % ก็จะเพิ่มขึ้น ฉะนั้นอำนาจซื้อเกษตรเพิ่มขึ้น ค่าแรงถูกปรับขึ้น เงินเดือนให้มีการถูกปรับขึ้น เงินเดือนนักการเมืองถูกปรับขึ้น ซึ่งเงินเดือนของลูกจ้างทั่วไปก็ถูกปรับขึ้นอย่างมากมาย ได้โบนัสกันมาก อสังหาริมทรัพย์ได้ 7 - 8 เดือน มันก็มีอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น ตัวแปล C (การบริโภคภายในประเทศ) มีการวิ่งจาก 54 % คงจะวิ่งไปถึง 60 % เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หลังจากนั้นตัวแปรตัวนี้คงจะช่วยให้รัฐบาลผ่อนคลายในแง่ของแนวโน้มทางจีดีพี ได้ในระดับหนึ่งเพราะตัว C น้ำหนักมันมาก ปัญหาที่กล่าวคือ เศรษฐกิจจะปั่นป่วนสูงในปีหน้านี้ โดยต้องอาศัยรัฐบาลที่มือถึง รัฐบาลที่มือถึงในที่นี้หมายถึงรัฐบาลที่มีความคล่องตัวในการบริหารเศรษฐกิจ มหาภาค ไม่ว่านโยบายการเงินและการคลัง แต่ถ้าหากนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคถูกเอาไปรับใช้นโยบายประชานิยมมาก จะมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวต่ำลงมาก และถ้าเกิดต่ำลงมากก็จะไม่สามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจมหาภาคได้ โดยหลัก คือ นโยบายการเงินและการคลัง บริหารการจัดการความปั่นป่วนมาพร้อมกับความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลก

@ สิ่งเลวร้ายที่สุด คืออะไร ถ้าเกิดว่าปัจจัยภายนอกมันเลวร้ายและรุนแรงมาก อาจจะเกิดวิกฤตที่ใดที่หนึ่งของโลกแล้วก็จะลากไปทั้งหมด ประเทศไหนก็ตามที่มีภูมิคุ้มกันในประเทศต่ำ ก็จะโดดลงมาเป็นพิเศษ ตรงนี้จะเป็นตัวที่แสดงให้เห็นหากคุณมองโลกในแง่ดีอย่างเดียว เช่น เราเก็บภาษีได้เกินเป้าในช่วงสั้นแล้วก็มองโลกในแง่ดีว่าอีก 5 ปี เราต้องสมดุลงบประมาณหรือเกินดุลงบประมาณเรามองอย่างนั้นไม่ได้


@ อาจารย์เตือนว่า อย่าประมาทในปีหน้า เพราะมีปัจจัยเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึง ในปีหน้าประเทศไทยจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงมากและไม่ควรนำประเทศไปสู่การติดกับ ประชานิยม เพราะยิ่งไปติดกับประชานิยมมากเท่าไหร่ ประชานิยมนโยบายบางเรื่องดูว่าเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ แต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่ มันเป็นตัวแปรทางการเมือง ทำประชานิยมเมื่อไหร่ ไม่มีทางเลิกได้ทุกเรื่อง มีแต่จะขยายมากขึ้น หากปรับตัวเข้าสู่นโยบายนี้มากขึ้น ก็หมายถึงคุณจะต้องมีภาระทำในนโยบายนี้ รัฐบาลชุดไหนที่ต้องการประชานิยมก็จะกลายเป็นตัวแปรตามไม่ใช่ตัวแปรอิสระ ก็คือตกกะไดพลอยโจนด้านนโยบายประชาภิวัฒน์ ฉะนั้นเมื่อมีอย่างนี้เกิดขึ้นระยะยาวก็น่าเป็นห่วง ประชาชนจะเสพติดประชานิยม ประชานิยมนำไปสู่การบิดเบือนที่ทำให้ขีดความสามารถต่างๆ ในประเทศลดลง ใคร ๆ ก็ชอบรับกันแจกรับกันแถม อย่าลืมของที่แจกแถมมันมีที่มา มีต้นทุน มีผู้แบกรับภาระ 

@คุณกรณ์และคุณอภิสิทธิ์ยืนยันว่ามีความสามารถในการที่จะหาเงินมาสนับสนุนประชาภิวัฒน์ ใครจะประกันได้หากเหตุการณ์เกิดขึ้นปีต่อปี เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดมาจากนอกประเทศเข้ามาหนักๆ เราต้องใช้เงินจำนวนมาก ทุนจากต่างประเทศหดลงอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเอาเงินมาลงทุน มาซื้อหุ้นในเมืองไทย เอาดอลล่าร์มาไล่ซื้อเงินบาท ส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ประชาภิวัฒน์คือส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือ เปล่า คนคิดว่านโยบายเกิดการรับใช้เป้าหมายทางการเมือง อย่างไรก็ตามประชาภิวัฒน์คงต้องดูอย่างเลือกสรร บางเรื่องก็ควรเลือกที่มีประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาส เราคงต้องดูเป็นเรื่อง ๆ ไป อย่างเช่น เรื่องของราคาน้ำมันจะไม่เอามาพูดในช่วงนี้ หลายๆ เรื่องเราไม่จำเป็น ไปปูพรมมากขนาดนั้น หรืออย่างเช่น การเอาเงินมาขึ้นเงินเดือนหลายภาคส่วน ซึ่งเป้าหมายจริง ๆ แล้วคือ เขาจำเป็นไหมที่จะต้องมีการปกครองที่ผ่านการเลือกตั้ง ต้องต่อสู้ขนาดไหน ลงทุนขนาดไหนให้ตนเองชนะการเลือกตั้ง ฉะนั้นแล้วตนคิดว่าการถลำตัวเข้าสู่ประชาภิวัฒน์สร้างขึ้นมาก็ก่อให้เกิด ปัญหาแน่นอน 

The Gold War Phase II...by Jimmy Siri บน Facebook
http://www.facebook.com/home.php?sk=group_170408246326805&ap=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น