วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะ "โรค" ร้อน (Global Warming Hoax)........Update

มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเพื่อนของเราครับ เข้ามายืนยันเพื่อเปิดเผยความจริงเรื่อง "ภาวะโลกร้อน" Global Warming หรือ Climate Change ที่เขียนไปพอดี เรามาดูครับว่า คนกลุ่มนี้เอาเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในทางใดบ้าง แล้วใครตอบโต้ หรือต่อต้านเรื่องนี้อย่างไรบ้าง จะเห็นว่า ทุกอย่าง "ชัดเจน" ครับ 

“ลัทธิกีดกันการค้า”ด้วยข้ออ้างเรื่อง“โลกร้อน”
โดย มาร์ติน คอร์ 15 ตุลาคม 2552 21:32 น.  

(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)

Climate protectionism on the rise
By Martin Khor
09/10/2009

ลัทธิ กีดกันการค้าและกีดกันเทคโนโลยีโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ นับวันแต่จะทวีตัว ในเวลาเดียวกัน ประเทศเหล่านี้ยังตั้งท่าเงื้อง่าจะนำประเด็นภัยคุกคามต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ มาเป็นส่วนหนึ่งในการเจรจากับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องของการต่อสู้กับภัย คุกคามต่ออนาคตของโลก

ลัทธิกีดกันการค้าและกีดกันเทคโนโลยีรูปแบบใหม่และอันตราย กำลังปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างรวดเร็ว ภายใต้หน้ากากของการมุ่งต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้น มันยังส่งผลเป็นการวางยาพิษเข้าไปในสายสัมพันธ์เหนือ-ใต้ภายในการเจรจาสอง เวทีคือ การเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเจรจาด้านการค้า

ที่ผ่านมา ได้ปรากฏสัญญาณชัดเจนว่าประเทศพัฒนาแล้วบางราย โดยเฉพาะสหรัฐฯ เตรียมใช้มาตรการการค้าฝ่ายเดียว อาทิ การเรียกเก็บภาษีศุลกากรและภาษีประเภทต่างๆ หรือการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ เอากับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อต่อสู้แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อเร็วๆ นี้ สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างพรบ.ที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอันที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนภาษีประเภทต่างๆ จากสินค้านำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา ที่สหรัฐฯเห็นว่า ยังไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอในอันที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนั้น สภาผู้แทนฯ สหรัฐฯ ยังพยายามใช้ลัทธิกีดกันการค้ามาต่อต้านไม่ให้มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี โดยผ่านร่างพรบ. 3 ฉบับที่ทางสภาแห่งนี้ได้รับรองไปแล้ว ทั้งนี้หากร่างเหล่านี้กลายเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ก็จะส่งผลให้ผู้แทนการเจรจาของสหรัฐฯ ที่ไปเจรจาหารือในกรอบของอนุสัญญาแม่บทสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ไม่สามารถทำข้อตกลงใดๆ ในทางที่จะผ่อนปรนกฎระเบียบหรือการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับทรัพย์สินทาง ปัญญา และขณะนี้มีสัญญาณชี้แล้วว่า ประเทศพัฒนาอื่นๆ รวมทั้งพวกทางยุโรป ก็เตรียมการที่จะใช้ลัทธิกีดกันการค้าที่อิงไปกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศเช่นเดียวกัน

ด้านประเทศกำลังพัฒนาต่างเริ่มแสดงการคัดค้านความเคลื่อนไหวดังกล่าว ทั้งนี้ ในระหว่างที่รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ คือนางฮิลลารี คลินตัน เยือนอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้นั้น บรรดาผู้นำทางการเมืองของอินเดียออกโรงประท้วงสหรัฐฯ ในกรณีการขู่จะใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากประเทศที่ไม่ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (carbon tarrifs) ด้านกระทรวงพาณิชย์จีนก็ออกมาวิจารณ์ประเด็นการกีดกันการค้าที่แฝงอยู่ใน ร่างพรบ.ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯด้วย

ที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายผนึกกำลังกันหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือในระหว่าง การเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งต่างๆ ก่อนที่จะถึงการประชุมที่จะเป็นบทสรุป ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคมปีนี้ กล่าวคือ ในวันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา กลุ่ม 77 และจีน (Group of 77 countries and China) ออกคำแถลงที่เวทีการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี โดยเตือนไม่ให้ประเทศพัฒนาแล้ว หันไปใช้มาตรการจำกัดการค้าแบบที่เป็นการประกาศใช้ฝ่ายเดียว เพราะมันจะเป็นการละเมิดบทบัญญัติต่างๆ ในอนุสัญญาแม่บทว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อินเดียยังได้เสนอด้วยว่า การประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกน (ในระหว่างวันที่ 7-18 ธันวาคม ซึ่งคาดหมายกันว่านานาชาติจะสามารถทำข้อตกลงว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกฉบับใหม่ เพื่อใช้ต่อจากพิธีสารเกียวโตที่จะหมดอายุลงในปี 2012 -ผู้แปล) ควรต้องมีการเขียนในข้อตกลง ด้วยข้อความที่ชัดเจนไปเลยว่า ประเทศพัฒนาแล้ว “จะไม่ใช้มาตรการฝ่ายเดียวไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ซึ่งรวมถึงมาตรการในลักษณะการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน เพื่อเล่นงานสินค้าและบริการที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา โดยอิงเหตุผลในเรื่องการพิทักษ์ปกป้องสภาพภูมิอากาศ และการสร้างเสถียรภาพด้านสภาพภูมิอากาศ”

ในการนี้ อินเดียอ้างถึงบทบัญญัติต่างๆ ในอนุสัญญาแม่บทฯ มากมายหลายข้อที่จะเข้าข่ายว่าถูกละเมิดถ้ามีการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ ความพยายามของอินเดียได้รับการขานรับจากนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจีน อาร์เจนตินา บราซิล สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย และรวมทั้ง กลุ่ม 77 และจีน ก็ออกคำแถลงในเรื่องนี้ด้วย

ทางด้านการเจรจา (เพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าโลกรอบโดฮาภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก -ผู้แปล) ที่นครเจนีวา เหล่านักการทูตของประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก ก็แสดงความวิตกต่อเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยมองเห็นความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย จะใช้มาตรการข้ออ้างเรื่องสภาพภูมิอากาศ มาเล่นงานขึ้นภาษีศุลกากร ตลอดจนการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ เอากับสินค้านำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา ถึงแม้ การกระทำเช่นนี้จะเข้าข่ายเป็นการใช้ข้อพิจารณาในประเด็นว่าด้วยกระบวนการ และวิธีผลิตสินค้าเหล่านั้น ( Process and production method หรือ PPM) ซึ่งยังเป็นประเด็นที่เกิดการถกเถียงขัดแย้งกันอย่างรุนแรงอย่างยากจะหาข้อ ยุติ

ทั้งนี้การเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเพิเศษ ตลอดจนการเก็บเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ เอากับสินค้านำเข้า โดยใช้ประเด็นพีพีเอ็ม ถูกประเทศกำลังพัฒนาต่อต้านว่าเป็นรูปแบบแอบแฝงของลัทธิกีดกันการค้า มาตั้งแต่เมื่อคราวประชุมองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ปี 1996 โดยที่ว่าประเทศกำลังพัฒนาชี้ไว้ว่ามาตรการเช่นนั้นนับว่าไม่เป็นธรรม เพราะจะส่งผลเป็นการกีดกันสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาไม่ให้สามารถเข้าสู่ ตลาดของประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่ขัดต่อกฎของดับเบิลยูทีโอ

อย่างไรก็ตาม มีพวกประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมากทีเดียวที่อยากนำมาตรการทางการค้าไปใช้กับ เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม และจึงมีการเตรียมชงเรื่องที่จะเอื้อให้มาตรการด้านการค้าที่ผูกอยู่กับพีพี เอ็ม กลายเป็นกฎระเบียบขึ้นมา หรือไม่อย่างนั้น ก็อาจจะผลักดันให้มาตรการการค้าที่โยงอยู่กับเรื่องสภาพภูมิอากาศ ได้รับอนุมัติในกรอบ “ข้อยกเว้นทั่วไปเพื่อสิ่งแวดล้อม” (general exception for the environment) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกรอบใหญ่ของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการ ค้า (General Agreement on Tariffs and Trade หรือ GATT)

ด้านประเทศกำลังพัฒนาอ้างว่า การโยงมาตรการการค้าไปผูกกับเรื่องภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นับว่าไม่เป็นธรรม เพราะพวกตนมีความสามารถเชิงเทคโนโลยีต่ำกว่าพวกประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งพวกตนย่อมไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้วได้ไหว และดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงควรได้รับความช่วยเหลือผ่านการถ่ายโอนเทคโนโลยี ทว่า ระบอบแห่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงื่อนไขตามข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของดับเบิลยูทีโอ ที่เรียกกันว่าข้อตกลง TRIPS) คืออุปสรรคขัดขวางเรื่องนี้อยู่ ยิ่งกว่านั้น ขณะนี้ รัฐสภาของสหรัฐฯ ก็มาแสดงท่าทีว่าจะประกาศห้ามไม่ให้รัฐบาลอเมริกามีสิทธิอนุมัติให้มีการ ผ่อนปรนในเรื่องกฎว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา

ถ้าประเด็นการปกป้องสภาพภูมิอากาศได้รับการอนุมัติ มันจะเป็นการเปิดทางให้สารพันมาตรการเพื่อกีดกันการค้า หลั่งไหลกันเข้ามากางกั้นไม่ให้สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าสู่ตลาด ของประเทศพัฒนาแล้วด้วยข้อพิจารณาว่าด้วยกระบวนการและวิธีผลิตสินค้า

ลัทธิกีดกันการค้าตัวใหม่ที่ฉกาจฉกรรจ์ระดับมาตรการตัวแม่อย่างนี้ ก็ช่างเลือกเวลาแจ้งเกิดโดยแท้ เพราะจะมาเล่นกันในยามยุคเศรษฐกิจถดถอย อันเป็นช่วงเวลาที่เหล่าผู้นำชาติทั้งหลายประกาศกันขึงขังว่า จะไม่ยอมหันไปใช้มาตรการกีดกันการค้าอย่างแน่นอน ดังนั้น ประเด็นการค้า-การปกป้องภูมิอากาศช่างเป็นระเบิดเวลาอันร้ายกาจ และมันจะกลายเป็นชนวนเปิด “กล่องแพนดอรา” (Pandora’s box) ที่ฝ่ายต่างๆ เคยนำปัญหาโลกแตกไปซุกไว้เพื่อซื้อเวลา โดยเมื่อมันถูกเปิดขึ้นมา มันจะไปสร้างราคีแปดเปื้อนให้แก่การเจรจาต่างๆ ตามกรอบ อนุสัญญาแม่บทของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเจรจาดับเบิลยูทีโอด้วย

มาร์ติน คอร์ เป็นกรรมการบริหารของศูนย์ South Centre อีเมล์ติดต่อเขาคือ director@southcentre.org ประเด็นปัญหาลัทธิกีดกันการค้าด้วยข้ออ้างเรื่องสภาพภูมิอากาศ ที่นำมาเสนอในข้อเขียนนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากฉบับพิเศษของจดหมายข่าว South Centre bulletin


ขอขอบคุณลิ๊งข้อมูลโดยคุณ "cool_kid" ครับ

5 ความคิดเห็น:

  1. ประเด็นเรื่องโลกร้อนนี่ ผมอยากเสนอความเห็นอย่างนี้ครับ

    อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจากก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันและมลพิษ เป็นเรื่องจริง
    น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเรื่องจริง
    ธารน้ำแข็งจากเทือกเขาทั่วโลกละลายเป็นเรื่องจริง
    น้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้นเป็นเรื่องจริง
    เหตุการณ์เหล่านี้ไม่อาจแก้ไขได้แล้ว
    มีแต่มุ่งหน้าสู่ทางหายนะเท่านั้น

    แต่สหรัฐเป็นผู้นำเอาเหตุการณ์ระดับโลกนี้ มาทำเงินให้กับตนเอง
    มาบรรจุในแผนของตนเองเพื่อที่จะครองโลก

    ถ้าเรามองอย่างนี้จะถูกต้องตามความเป็นจริงมากกว่าจะมาปฏิเสธว่าเหตุการณ์โลกร้อนนี้ เป็นเรื่องแต่งขึ้นหลอกชาวโลกนะครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 ตุลาคม 2552 เวลา 20:15

    ถูก -----------------------

    ตอบลบ
  3. อาจจะใน 1-2 โพสต์ข้างหน้านี้ผมจะขยายความเรื่องนี้เพิ่มให้ครับ ตอนแรกนึกว่าจะไม่ค่อยมีใครใส่ใจเรื่องนี้เลย สรุปย่อๆ ให้ครับ มันเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์และสถิติครับ ชัดเจนมากว่า "เหตุการณ์โลกร้อนนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้นเพื่อหลอกชาวโลกและหากินเท่านั้นเอง" ครับ มีทั้งการสัมนา เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ทั้งหมดเค้าออกมาต่อต้าน และฟ้องร้องเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวางครับ

    ฟ้องเจ้าอัล กอร์ตัวที่กุเรื่องโดนฟ้องคนเดียวไปถึง 30,000 คดีจากเรื่องโลกร้อนนี่แหละครับ สุดท้ายอัล กอร์แก้ต่างว่าเค้าไม่ได้บอกว่ามี (อ้าวววว) เค้าแค่ใช้คำว่า "If" หรือ "ถ้า" มันเกิดขี้นต่างหากครับ ทั้งตัวอัล กอร์และเรื่องนี้เลยกลายเป็นเรื่องตลกของสังคมอเมริกันไปเลย โดนแซวและถล่มเละครับ

    เค้ายืนยันเลยครับว่า co2 หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ "ไม่ได้เป็นสาเหตุของโลกร้อนครับ" และทางสถิติ อุณภูมิของโลกเพิ่มขี้นจริง 1-2 องศา แต่เกิดก่อนหน้ายุคอุตสาหกรรมซะอีก ข้อมูลตรงนี้แน่นเปรี๊ยะ ส่วน co2 ทำให้เกิดมลพิษมากขึ้นอันนี้จริงครับ แล้วสำหรับเรื่องอากาศไม่น่าห่วงครับ เราไม่ได้มุ่งหน้าไปสู่หายนะครับ อดทนนิดครับ โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกรอบใน 20 ปีข้างหน้าครับ เริ่มจากปีนี้แล้วครับแล้วจะเย็นขึ้นไปเรื่อยๆ ตอนนี้แค่เรื่องเงินดอลล่าอย่างเดียวก็อ่วมแล้ววววว

    "สหรัฐเป็นผู้นำเอาเหตุการณ์ระดับโลกนี้ มาทำเงินให้กับตนเอง
    มาบรรจุในแผนของตนเองเพื่อที่จะครองโลก" อันนี้เข้าเป้าเต็มๆ ครับ สุดท้ายยังคงยืนยันเรื่องโลกร้อนเลยครับว่า เค้าทั้ง "ต้ม" & "ตุ๋น" พวกเราอีกตามเคยครับ แต่ไม่เป็นไรชินแล้วคร๊าบบบบ

    ตอบลบ
  4. เรื่องโรคร้อนนี้ขอติดไว้เป็นวันเสาร์หรืออาทิตย์นะครับ ช่วงกลางอาทิตย์ขอโพสต์เรื่องข้อมูลการเงิน การทองก่อนดีนะครับ

    ส่วนเรื่องโรคร้อนข้อมูลต่างๆ วีดีโอ ลิ๊งค์ และกราฟต่างๆ พร้อมอยู่ในเครื่องหมดแล้วครับ แต่ต้องใช้เวลาเรียบเรียงพอสมควรครับ เอาไว้เป็นเรื่องสบายๆ วันเสาร์อาทิตย์ดีกว่าครับ เพราะมีประเด็นการเงินการทองเยอะครับ เรามาขุดทอง ก่อนดีกว่านะ :)

    ตอบลบ
  5. มีข่าวว่าจีนเริ่มหนาวแล้วก็หิมะตกหนามากๆ เป็นบริเวณกว้างแล้ว

    ไหนล่ะโลกร้อนอย่างที่คุณจิมมี่บอกจริงๆน่ะแหละค่ะ

    บาบาร่า ฟู

    ตอบลบ